ชื่อเรื่อง การจัดประสบการณ์โดยใช้หนังสือคำคล้องจองประกอบภาพ เพื่อพัฒนาทักษะ
ด้านการฟังและการพูด ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2
ผู้ศึกษาค้นคว้า นางเดือนเพ็ญ ศรีผักผ่อง โรงเรียนบ้านดอนปอ อำเภอเมือง จังหวัดบึงกาฬ
ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของการจัดประสบการณ์โดยใช้หนังสือคำคล้องจองประกอบภาพ เพื่อพัฒนาทักษะด้านการฟังและการพูด ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการจัดประสบการณ์โดยใช้หนังสือคำคล้องจองประกอบภาพ เพื่อพัฒนาทักษะด้านการฟังและการพูด ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 3) เพื่อเปรียบเทียบทักษะด้านการฟังและการพูดของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ก่อนและหลัง การจัดประสบการณ์โดยใช้หนังสือคำคล้องจองประกอบภาพ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดประสบการณ์โดยใช้หนังสือคำคล้องจองประกอบภาพ เพื่อพัฒนาทักษะด้านการฟังและการพูด ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าเป็นนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านดอนปอ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ปีการศึกษา 2559 จำนวน 17 คน เครื่องมือ
ที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าประกอบด้วย 1) แผนการจัดประสบการณ์โดยใช้หนังสือคำคล้องจองประกอบภาพ เพื่อพัฒนาทักษะด้านการฟังและการพูด ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 16 แผน 2) หนังสือคำคล้องจองประกอบภาพ จำนวน 8 เรื่อง 3) แบบทดสอบวัดทักษะด้านการฟังและการพูด จำนวน 20 ข้อ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดประสบการณ์โดยใช้หนังสือคำคล้องจองประกอบภาพ เพื่อพัฒนาทักษะด้านการฟังและการพูด ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 10 ข้อ
การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติในการหาคุณภาพและประสิทธิภาพของเครื่องมือ (IOC, E1/E2, E.I.) สถิติพื้นฐาน (ค่าร้อยละ, ,S.D.) สถิติเพื่อทดสอบความแตกต่างโดยใช้การทดสอบที (t-test) กรณีกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระกัน (Dependent Samples)
ผลการศึกษาค้นคว้าสรุปได้ดังนี้
1. ประสิทธิภาพของการจัดประสบการณ์โดยใช้หนังสือคำคล้องจองประกอบภาพ เพื่อพัฒนาทักษะด้านการฟังและการพูด ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 89.02/86.76 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคือ 80/80
2. ดัชนีประสิทธิผลของการจัดประสบการณ์โดยใช้หนังสือคำคล้องจองประกอบภาพ เพื่อพัฒนาทักษะด้านการฟังและการพูด ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีค่าเท่ากับ 0.70 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์กำหนด 0.50
3. การเปรียบเทียบทักษะด้านการฟังและการพูดของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์โดยใช้หนังสือคำคล้องจองประกอบภาพ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยทักษะด้านการฟังและการพูด หลังการจัดประสบการณ์โดยใช้หนังสือคำคล้องจองประกอบภาพ สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดประสบการณ์โดยใช้หนังสือคำคล้องจองประกอบภาพ เพื่อพัฒนาทักษะด้านการฟังและการพูด ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยรวม
อยู่ในระดับพึงพอใจมาก