ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้การ
จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้รายงาน นางระวีวรรณ นิลโกศล ตำแหน่งครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
ชื่อสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาลเมืองขลุง 2 กองการศึกษา เทศบาลเมืองขลุง อำเภอขลุง
จังหวัดจันทบุรี กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
ปีที่รายงาน 2559
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้จึงมีความมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อวิเคราะห์หาค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนเทศบาลเมืองขลุง 2 กองการศึกษา เทศบาลเมืองขลุง อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 31 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ผู้รายงานสร้างขึ้น จำนวน 8 แผน รวมเวลาทั้งสิ้น 20 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งเป็นข้อสอบแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบแบบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากรายข้อ (P) ตั้งแต่ 0.52 ถึง 0. 76 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (B) ตั้งแต่ 0.32 ถึง 0.78 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.82 และ 3 ) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 1 ฉบับ แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) มี 5 ระดับ จำนวน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านเนื้อหา ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านสื่อและอุปกรณ์การเรียนรู้ และด้านการวัดและประเมินผล รวมทั้งสิ้น 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test Dependent Sample)
ผลจากการศึกษาพบว่า
1. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพของกระบวนการและประสิทธิภาพของผลลัพธ์มีค่าเท่ากับ 82.27/79.57 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ 75/75
2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ
เพื่อความเข้าใจ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเท่ากับ 0.7008 แสดงว่านักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นหลังการเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD เท่ากับ 0.7008 หรือคิดเป็นร้อยละ 70.08
3. นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงขึ้นจากก่อนเรียน เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนที่เรียนเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด