ชื่อเรื่อง การพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน รายวิชา ดนตรี เรื่อง ซอด้วง กลุ่มสาระ การเรียนรู้ศิลปะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบใฝ่รู้ (Active Learning)
ชื่อผู้รายงาน นายพัทธรินทร์ หลำชม
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการ
สังกัด โรงเรียนนนทบุรีวิทยาลัย สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียน รายวิชา ดนตรี เรื่อง ซอด้วง กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ร่วมกับการจัด การเรียนรู้แบบใฝ่รู้ (Active Learning) ให้มีตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/ 80 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ด้วยเอกสารประกอบการเรียน รายวิชา ดนตรี เรื่อง ซอด้วง กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบใฝ่รู้ (Active Learning) 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยเอกสารประกอบการเรียน รายวิชา ดนตรี เรื่อง ซอด้วง กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ร่วมกับการจัด การเรียนรู้แบบใฝ่รู้ (Active Learning) และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัด การเรียนรู้ด้วยเอกสารประกอบการเรียน รายวิชา ดนตรี เรื่อง ซอด้วง กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบใฝ่รู้ (Active Learning) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนนนทบุรีวิทยาลัย สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 42 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ เอกสารประกอบการเรียน รายวิชา ดนตรี เรื่อง ซอด้วง กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบใฝ่รู้ (Active Learning) จำนวน 7 เล่ม แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชา ดนตรี เรื่อง ซอด้วง กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 40 ข้อ คู่มือการใช้เอกสารประกอบการเรียน รายวิชา ดนตรี เรื่อง ซอด้วง กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบใฝ่รู้ (Active Learning) และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยเอกสารประกอบการเรียน รายวิชา ดนตรี เรื่อง ซอด้วง กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบใฝ่รู้ (Active Learning) สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้ t-test dependent ที่ระดับความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 ผลการศึกษาพบว่า
1. ประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียน รายวิชา ดนตรี เรื่อง ซอด้วง กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบใฝ่รู้ (Active Learning) เท่ากับ 83.71/ 84.10
2. ดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ด้วยเอกสารประกอบการเรียน รายวิชา ดนตรี เรื่อง ซอด้วง กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบใฝ่รู้ (Active Learning) เท่ากับ 0.6706 นั่นหมายความว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มสูงขึ้น 0.5606 หรือคิดเป็นร้อยละ 56.06
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน รายวิชา ดนตรี เรื่อง ซอด้วง กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบใฝ่รู้ (Active Learning) มีคะแนนหลังการจัดการเรียนสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยเอกสารประกอบการเรียน รายวิชา ดนตรี เรื่อง ซอด้วง กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบใฝ่รู้ (Active Learning) ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจทุกข้ออยู่ในระดับมากที่สุด