ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
การพัฒนาชุดเกมการศึกษาส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สาหรับเด็กชั้นอนุบาล

ชื่องานวิจัย การพัฒนาชุดเกมการศึกษาส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สาหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านนาพราน

ผู้วิจัย นางสาวหนึ่งเสมอ เสนารักษ์

ตาแหน่ง ครู คศ.2 โรงเรียนบ้านนาพราน

บทคัดย่อ

การศึกษาพัฒนาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการใช้ชุดเกมการศึกษาส่งเสริมทักษะ

พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สาหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านนาพราน กลุ่มเป้าหมาย คือ เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่กาลังเรียนอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนบ้านนาพราน สานักงาน

เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2 จานวน 14 คน ซึ่งได้รับเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แผนการจัดประสบการณ์โดยใช้ชุดเกมการศึกษาส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สาหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่ผู้ศึกษาพัฒนาสร้างขึ้น และแบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .77 วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาประสิทธิภาพของชุดเกมการศึกษาส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สาหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 ตามเกณฑ์ 80/80 และทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้ชุดเกมการศึกษาส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ โดยการหาค่าเฉลี่ย ( Χ ) ค่าร้อยละ เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 ก่อนและหลังเรียนการใช้ชุดเกมการศึกษาส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สาหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 ด้วยวิธีการทดสอบของวิลคอกซอน (The Wilcoxon Matched-Pairs Signed-Rank Test) ผลการศึกษาพัฒนาพบว่า

1. ประสิทธิภาพของชุดเกมการศึกษาส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สาหรับเด็กชั้น

อนุบาลปีที่ 2 ในขั้นการทดสอบรายบุคคลมีประสิทธิภาพต่ากว่าเกณฑ์ (74.50/71.11) ขั้นทดสอบ

กลุ่มย่อย มีประสิทธิภาพต่ากว่าเกณฑ์ (80.17/79.63) และขั้นทดสอบภาคสนาม มีประสิทธิภาพสูง

กว่าเกณฑ์ (80.71/81.43)

2. ผลการประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 เมื่อจาแนกเป็น

รายด้านพบว่า ด้านที่ 1 ด้านการสังเกต จาแนก จับคู่ และเปรียบเทียบ เด็กได้คะแนนเฉลี่ยคิดเป็น

ร้อยละ 80.48 ด้านที่ 2 ด้านตัวเลขและจานวน เด็กได้คะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 80.54 ด้านที่ 3

ด้าน มิติสัมพันธ์ เด็กได้คะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 80.18 ด้านที่ 4 ด้านเวลา เด็กได้คะแนนเฉลี่ย

คิดเป็นร้อยละ 82.38 และในภาพรวมเด็กได้คะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 80.71

3. ผลการประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 ก่อนเรียนด้วย

ชุดเกมการศึกษาส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สาหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีค่าเฉลี่ย 18.93 คิดเป็นร้อยละ 63.10 หลังจัดการเรียนรู้ด้วยชุดเกมการศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สาหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีค่าเฉลี่ย 24.43 คิดเป็นร้อยละ 81.43 มีความก้าวหน้าเฉลี่ย 5.5 คิดเป็นร้อยละ 18.33 เมื่อพิจารณาความก้าวหน้าในการเรียน พบว่า มีความก้าวหน้าในการเรียนทุกคน

4. ผลการประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05

การพัฒนาชุดเกมการศึกษาส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สาหรับเด็ก ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านนาพราน

นางสาวหนึ่งเสมอ เสนารักษ์

ครู คศ.2 โรงเรียนบ้านนาพราน

ความเป็นมาและความสาคัญของปัญหา

การจัดการศึกษาระดับปฐมวัยในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2546 (กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. 2546) มุ่งพัฒนาเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง 5 ปี บนพื้นฐานการอบรมเลี้ยงดูและการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่สนองต่อธรรมชาติ และพัฒนาการของเด็กแต่ละคนตามศักยภาพ ทั้งนี้สาระการเรียนรู้ประกอบด้วยองค์ความรู้ ทักษะหรือกระบวนการและคุณลักษณะ คุณธรรม จริยธรรม ซึ่งไม่เน้นเนื้อหา การท่องจา ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับทักษะหรือกระบวนการที่สาคัญและจาเป็นสาหรับเด็ก เช่น ทักษะการเคลื่อนไหว ทักษะทางสังคม ทักษะการคิด ทักษะการใช้ภาษา วิทยาศาสตร์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งคณิตศาสตร์ ซึ่งมีความสาคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาความคิด ทาให้เป็นคนคิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ มีแบบแผน ตลอดจนมีการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ และสามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ได้อย่างรอบคอบ นอกจากนี้ คณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือในการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและศาสตร์อื่น ๆ อีกหลายแขนง ซึ่งสามารถเตรียมความพร้อมทักษะพื้นฐาน ทางคณิตศาสตร์นี้ได้ตั้งแต่เด็กอยู่ในช่วงปฐมวัย เพราะวัยแรกเกิดถึงหกปีเป็นช่วงเวลาที่สมองจะพัฒนาสูงสุดในทุกๆด้าน หากได้รับการ กระตุ้นอย่างต่อเนื่อง (อัมพร เบญจพลพิทักษ. 2557 : 35)การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2546 (กระทรวง ศึกษาธิการ. 2546 : 7-40) เป็นการจัดประสบการณ์สาคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัย เป็นการสนับสนุนให้เด็กได้รับรู้ เรียนรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัวด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้า ผ่านการคิด การใช้ภาษา การสังเกต การจาแนก และการเปรียบเทียบ จานวนมิติสัมพันธ์และเวลา การส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาในด้านการสังเกต การจาแนก และการเปรียบเทียบมีองค์ประกอบ ที่สาคัญ ได้แก่ การสารวจและอธิบายความเหมือน ความต่าง การจับคู่ การจาแนก และการจัดกลุ่มการเปรียบเทียบ เช่น ยาว-สั้น และขรุขระ-เรียบ เป็นต้น การเรียงลาดับ การคาดคะเน การตั้ง สมมติฐานการทดลอง การสืบค้นข้อมูลการใช้หรืออธิบายสิ่งต่าง ๆ ด้วยวิธีการที่หลากหลาย ซึ่งทักษะเหล่านี้จะเป็นพื้นฐานช่วยเตรียมเด็กให้มีความพร้อมที่จะเรียนรู้คณิตศาสตร์ในขั้นต่อไปในอนาคต ผลการประเมินพัฒนาการเด็กนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ปีการศึกษา 2558 ของโรงเรียน บ้านนาพราน พบว่า เด็กนักเรียนมีพัฒนาการด้านร่างกายเฉลี่ยร้อยละ 84.33 พัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ เฉลี่ยร้อยละ 74.76 พัฒนาการด้านสังคมเฉลี่ยร้อยละ 78.66 พัฒนาการด้านสติปัญญาเฉลี่ย ร้อยละ 56.56 (โรงเรียนบ้านนาพราน. 2559 : 80) และผลการประเมินพัฒนาการเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 ปีการศึกษา 2557 เฉพาะพัฒนาการด้านสติปัญญาเฉลี่ยร้อยละ 57.14 (โรงเรียนบ้านนาพราน. 2558 : 80) จากผลการประเมินพัฒนาการดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าพัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็กนักเรียน ชั้นอนุบาลมีค่าเฉลี่ยร้อยละอยู่ในระดับต่า เมื่อเทียบกับพัฒนาการด้านอื่น ๆ และเมื่อพิจารณาผล การประเมินพัฒนาการตามมาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัยของหลักสูตรสถานศึกษารายมาตรฐาน พบว่ามาตรฐานที่ 10 เด็กมีความสามารถในการคิดและการแก้ปัญหาได้เหมาะสมกับวัย ตัวบ่งชี้ที่ 1 เด็กมีความคิดรวบยอดในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ปีการศึกษา 2557 เด็กมีพัฒนาการในระดับดีร้อยละ 61.90 ระดับพอใช้ร้อยละ 23.81 ระดับปรับปรุงร้อยละ 14.29 (โรงเรียนบ้านนาพราน. 2558 : 65) และปีการศึกษา 2558 เด็กมีพัฒนาการในระดับดีร้อยละ 57.14 ระดับพอใช้ร้อยละ 28.57 และระดับปรับปรุงร้อยละ 14.29 (โรงเรียนบ้านนาพราน. 2559 : 65) ซึ่งเห็นได้ว่าค่าเฉลี่ยร้อยละของเด็กที่มีความคิดรวบยอดในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ต่าลง เมื่อเทียบกับปีการศึกษาที่ผ่านมา จากผลการประเมินพัฒนาการเด็กนักเรียนชั้นอนุบาลดังกล่าว อาจมาจากการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ขาดการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการเตรียมความพร้อมสาหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งเป็นวัยเริ่มต้นแห่งการเรียนรู้ มีความอยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกต ชอบเล่น และสารวจสิ่งต่าง ๆ รอบตัว การส่งเสริมให้เด็กวัยนี้มีความรู้ ความเข้าใจมีทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ ไม่เพียงส่งผลให้เด็กประสบความสาเร็จในการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์เท่านั้น แต่จะส่งผลต่อการเรียนรู้ในศาสตร์ด้านอื่น ๆ ด้วย นอกจากนี้คณิตศาสตร์ยังมีบทบาทสาคัญทั้งใน การเรียนรู้ และมีประโยชน์ต่อการดาเนินชีวิตประจาวันอีกด้วย (อัมพร เบญจพลพิทักษ. 2557 : 35) การจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สาหรับเด็กปฐมวัย สามารถจัดได้หลายรูปแบบ เช่น กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน การใช้กิจกรรมศิลปะ การใช้แบบฝึกหัด การใช้หนังสือนิทานสาหรับเด็ก การใช้ของจริง การใช้หุ่นมือ และอื่น ๆ อีกมากมาย (พรทิพย์ กันทาส. 2552 : 2) เกมการศึกษาเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมให้เด็กเกิดการเรียนรู้ ช่วยพัฒนาได้หลาย ๆ ด้าน รวมทั้งเป็นการฝึกทักษะในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เป็นกิจกรรมที่ช่วยฝึกความสามารถด้านการสังเกต การคิดหาเหตุผล และการแก้ปัญหา สอดคล้องกับการศึกษาของ สุมาพร เฉลิมผจง (2556) เรื่อง ผลการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมเชิงคณิตศาสตร์ที่มีต่อความสามารถพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย พบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมเชิงคณิตศาสตร์ มีความสามารถพื้นฐานทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปในแนวทางเดียวกับการศึกษาของ พิชญ์สินี โชติชะวงค์ (2554) เรื่อง การใช้เกมการศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดของเด็กปฐมวัย ที่พบว่า หลังการใช้เกมการศึกษา นักเรียนมีทักษะการคิดอยู่ในระดับดี และการศึกษาของ ธีรนาฏ เบ้าคา (2553) เรื่อง ผลการจัดประสบการณ์โดยใช้รูปแบบการสอนมโนทัศน์เสริมด้วยเกมการศึกษาที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย พบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้รูปแบบการสอนมโนทัศน์เสริมด้วย เกมการศึกษา มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในภาพรวมและรายด้านหลังการจัดประสบการณ์สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และพบด้วยว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับ การจัดประสบการณ์โดยใช้รูปแบบการสอนมโนทัศน์เสริมด้วยเกมการศึกษา มีพฤติกรรมทางสังคม ได้แก่ ความเอื้อเฟื้อ ความมีระเบียบวินัย และความรับผิดชอบอยู่ในระดับดี

จากการศึกษาเอกสารดังกล่าวข้างต้น ผู้ศึกษาพัฒนาจึงมีความสนใจสร้างชุดเกมการศึกษาส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สาหรับเด็กชั้นอนุบาล 2 เพื่อส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้ผ่าน การเล่นเกมด้วยความสนุกสนาน ชุดเกมมีความหลากหลาย เด็กได้เรียนรู้โดยการกระทา และได้ฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง อันจะทาให้เด็กเกิดทัศนคติที่ดีต่อการเรียนคณิตศาสตร์ ผ่านการฝึกซ้าๆ จนเกิดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นรากฐานในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ในระดับที่สูงขึ้นต่อไป

วัตถุประสงค์ของการทดลอง

1. เพื่อพัฒนาชุดเกมการศึกษาส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สาหรับเด็กชั้นอนุบาล ปีที่ 2 ตามเกณฑ์ 80/80

2. เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียน ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้ชุดเกมการศึกษาส่งเสริมทักษะพื้นฐาน ทางคณิตศาสตร์ สาหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2

ความสาคัญของการทดลอง

1. มีชุดเกมการศึกษาส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สาหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่เหมาะสมสาหรับนาไปใช้ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้

2. ทราบผลการประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านนาพราน หลังการใช้ชุดเกมการศึกษาส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สาหรับเด็ก ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ซึ่งผู้สอนสามารถนาผลการศึกษาทดลองในครั้งนี้ มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับธรรมชาติของเด็กปฐมวัย

3. เป็นแนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สาหรับครูผู้สอน เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐาน ทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย และระดับชั้นอื่น ๆ ตลอดจนเป็นแนวทางให้ครูผู้สอนนารูปแบบ การจัดกิจกรรมโดยใช้เกมการศึกษาไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาเด็กด้านต่าง ๆ เช่น ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นต้น

ขอบเขตของการทดลอง

1. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่กาลังเรียนอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนบ้านนาพราน จานวน 14 คน ซึ่งได้รับเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling)

2. ตัวแปร

2.1 ตัวแปรอิสระ ได้แก่ ชุดเกมการศึกษาส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สาหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2

2.2 ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการสังเกต จาแนก จับคู่และเปรียบเทียบ ด้านตัวเลขและจานวน ด้านมิติสัมพันธ์ และด้านเวลา

3. เนื้อหาที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ การสังเกต จาแนก จับคู่และเปรียบเทียบ ตัวเลขและจานวน มิติสัมพันธ์และเวลา ซึ่งผู้ศึกษาพัฒนาดาเนินการทดลองตามขอบข่ายพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สาหรับเด็กปฐมวัย จาแนกเป็น 4 ด้าน ดังนี้

3.1 ด้านการสังเกต จาแนก จับคู่ และเปรียบเทียบ

3.1.1 ชุดที่ 1 ฝาแฝดฉันอยู่ไหน

3.1.2 ชุดที่ 2 ฉันคือใคร

3.1.3 ชุดที่ 3 ช่องใครช่องมัน

3.1.4 ชุดที่ 4 อันไหนคือพวก

3.1.5 ชุดที่ 5 สูงกว่า-ต่ากว่า

3.1.6 ชุดที่ 6 หนากว่า-บางกว่า

3.1.7 ชุดที่ 7 ยาวกว่า-สั้นกว่า

3.1.8 ชุดที่ 8 ใหญ่กว่า-เล็กกว่า

3.1.9 ชุดที่ 9 หนักกว่า เบากว่า

3.2 ด้านตัวเลขและจานวน

3.2.1 ชุดที่ 10 จานวนเท่าไหร่

3.2.2 ชุดที่ 11 ลดหรือเพิ่ม

3.2.3 ชุดที่ 12 มากกว่า-น้อยกว่า

3.2.4 ชุดที่ 13 เท่าหรือไม่เท่า

3.3 ด้านมิติสัมพันธ์

3.3.1 ชุดที่ 14 รูปนี้คืออะไร

3.3.2 ชุดที่ 15 เลี้ยวไหนดี

3.3.3 ชุดที่ 16 อยู่ที่ไหน

3.3.4 ชุดที่ 17 ต่อเข้า แยกออก

3.4 ด้านเวลา

3.4.1 ชุดที่ 18 เหตุการณ์ไหนเกิดก่อน

3.4.2 ชุดที่ 19 เวลานี้ทาอะไร

3.4.3 ชุดที่ 20 ฤดูกาลผ่านไป

4. ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง

ดาเนินการทดลองตามแผนการจัดประสบการณ์โดยใช้ชุดเกมการศึกษาส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สาหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยจัดประสบการณ์การเรียนรู้สัปดาห์ละ 4 วัน วันละ 30 นาที ในวันจันทร์ –วันพฤหัสบดี

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่กาลังเรียนอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนบ้านนาพราน จานวน 14 คน ซึ่งได้รับเลือกแบบเจาะจง

เครื่องมือที่ใช้ในการดาเนินการทดลอง

1. ชุดเกมการศึกษาส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สาหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 จานวน 20 ชุด ซึ่งเป็นสื่อการจัดประสบการณ์รูปแบบเกมการศึกษาที่ผู้ศึกษาพัฒนาสร้างขึ้น โดยใช้ควบคู่กับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยผ่านการสังเกต เปรียบเทียบ การจัดหมวดหมู่ การเรียงลาดับ การรู้ค่าจานวน ซึ่งเป็นทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ใช้เวลาการเล่นชุดละประมาณ 30 นาที ในกิจกรรมเกมการศึกษา เวลา 15.00-15.30 น.

2. คู่มือครู เป็นเอกสารประกอบการใช้ชุดเกมการศึกษา ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับหลักสูตร

การศึกษาปฐมวัย การวิเคราะห์สาระการเรียนรู้และประสบการณ์สาคัญ เพื่อจัดทาชุดเกมการศึกษา

ส่วนประกอบของแผนการจัดประสบการณ์ คาชี้แจงในการใช้ชุดเกมการศึกษาควบคู่กับแผนการจัด

ประสบการณ์ ข้อเสนอแนะสาหรับครู และแผนการจัดประสบการณ์

3. แบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เป็นแบบทดสอบวัดความสามารถในการ

เรียนรู้จากชุดเกมการศึกษาส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สาหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2

จาแนกเป็น 4 ด้าน ดังนี้

1.1 ด้านการสังเกต จาแนก จับคู่ และเปรียบเทียบ

1.2 ด้านตัวเลขและจานวน

1.3 ด้านมิติสัมพันธ์

1.4 ด้านเวลา

การดาเนินการทดลอง

1. ทดสอบก่อนเรียน ซึ่งประกอบด้วยแบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ โดย

แบบทดสอบก่อนเรียน ดาเนินการทดสอบก่อนที่จะมีการจัดประสบการณ์โดยใช้ชุดเกมการศึกษา

ส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สาหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2

2. ดาเนินการสอนตามแผนการจัดประสบการณ์โดยใช้ชุดเกมการศึกษาส่งเสริมทักษะพื้นฐาน

ทางคณิตศาสตร์ สาหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2

3. ทดสอบหลังเรียน ซึ่งประกอบด้วยแบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ โดย

แบบทดสอบหลังเรียนนี้จะดาเนินการทดสอบวันรุ่งขึ้น หลังจากจัดประสบการณ์ตามแผนการจัด

ประสบการณ์แผนสุดท้ายเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว

4. นาผลการทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 เปรียบเทียบ

ก่อนเรียนและหลังเรียน เพื่อทดสอบความแตกต่างตามสมมุติฐาน

การวิเคราะห์ข้อมูล

1. วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาประสิทธิภาพของชุดเกมการศึกษาส่งเสริมทักษะพื้นฐาน

ทางคณิตศาสตร์ สาหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 ตามเกณฑ์ 80/80

2. วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ได้รับ

การจัดประสบการณ์โดยใช้ชุดเกมการศึกษาส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ โดยการหาค่าเฉลี่ย( Χ ) ค่าร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

3. วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 ก่อนและหลังเรียนด้วยชุดเกมการศึกษาส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สาหรับเด็กชั้นอนุบาล ปีที่ 2 โดยการทดสอบตามวิธีของวิลคอกซอน ที่เรียกว่า “The Wilcoxon Matched-Pairs Signed-Rank Test” ซึ่งเป็นสถิติประเภทนอนพาราเมตริก (Nonparametric Statistics) เหมาะสาหรับกลุ่มตัวอย่างขนาดเล็ก ประมาณ 6-20 คน

สรุปผลการทดลอง

1. ประสิทธิภาพของชุดเกมการศึกษาส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สาหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 ในขั้นการทดสอบรายบุคคลมีประสิทธิภาพต่ากว่าเกณฑ์ (74.50/71.11) ขั้นทดสอบกลุ่มย่อย มีประสิทธิภาพต่ากว่าเกณฑ์ (80.17/79.63) และขั้นทดสอบภาคสนาม มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ (80.71/81.43)

2. ผลการประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 เมื่อจาแนกเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่ 1 ด้านการสังเกต จาแนก จับคู่ และเปรียบเทียบ เด็กได้คะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 80.48 ด้านที่ 2 ด้านตัวเลขและจานวน เด็กได้คะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 80.54 ด้านที่ 3 ด้านมิติสัมพันธ์ เด็กได้คะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 80.18 ด้านที่ 4 ด้านเวลา เด็กได้คะแนนเฉลี่ย คิดเป็นร้อยละ 82.38 และในภาพรวมเด็กได้คะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 80.71

3. ผลการประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 ก่อนเรียนด้วย ชุดเกมการศึกษาส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สาหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีค่าเฉลี่ย 18.93 คิดเป็นร้อยละ 63.10 หลังจัดการเรียนรู้ด้วยชุดเกมการศึกษาส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สาหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีค่าเฉลี่ย 24.43 คิดเป็น ร้อยละ 81.43 มีความก้าวหน้าเฉลี่ย 5.5 คิดเป็นร้อยละ 18.33 เมื่อพิจารณาความก้าวหน้าในการเรียนพบว่า มีความก้าวหน้าในการเรียนทุกคน

4. ผลการประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05

อภิปรายผลจากผลการพัฒนาชุดเกมการศึกษาส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สาหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 พบว่า ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ สุมาพร เฉลิมผจง (2556) ได้ศึกษาเรื่อง ผลการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมเชิงคณิตศาสตร์ที่มีต่อความสามารถพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย พบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับ การจัดประสบการณ์โดยใช้เกมเชิงคณิตศาสตร์มีความสามารถพื้นฐานทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลการศึกษาของ พิชญ์สินี โชติชะวงค์ (2554) เรื่อง การใช้เกมการศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดของเด็กปฐมวัย ที่พบว่า หลังการใช้เกมการศึกษา นักเรียนมีทักษะการคิดอยู่ในระดับดี นอกจากนี้ผลการศึกษาของ ธีรนาฏ เบ้าคา (2553) เรื่อง ผลการจัดประสบการณ์โดยใช้รูปแบบการสอนมโนทัศน์เสริมด้วยเกมการศึกษาที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย พบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้รูปแบบการสอน มโนทัศน์เสริมด้วยเกมการศึกษา มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในภาพรวมและรายด้านหลังการจัดประสบการณ์สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และพบด้วยว่าเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้รูปแบบการสอนมโนทัศน์เสริมด้วยเกมการศึกษา มีพฤติกรรมทางสังคม ได้แก่ ความเอื้อเฟื้อ ความมีระเบียบวินัย และความรับผิดชอบอยู่ในระดับดีเช่นกัน ที่เป็นดังนี้เพราะ เกมการศึกษา เป็นสื่อที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ได้ดี ตอบสนองความต้องการของเด็กหลายๆ ด้าน เพราะเกมการศึกษา เปนสิ่งที่ช่วยเป็นพื้นฐานใน การเตรียมความพรอมทั้ง 4 ดาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเด็กได้เล่นเกมการศึกษา เด็กได้รู้จักการสังเกต การจาแนก การเปรียบเทียบ การจัดหมวดหมู่ การเชื่อมโยง ซึ่งทักษะเหล่านี้ เป็นทักษะพื้นฐานในการคิด (ลักคะณา เสโนฤทธิ์. 2551 : 35) ซึ่งในขณะที่จัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยชุดเกมการศึกษาส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์ ยังพบว่า เด็กมีรู้อยากเห็นและเกิดทัศนคติที่ดีต่อการเรียนคณิตศาสตร์ สังเกตได้จากการให้ ความร่วมมือในการปฏิบัติกิจกรรมเป็นอย่างดี มีความยิ้มแย้มแจ่มใสในขณะปฏิบัติกิจกรรม กล้าพูดแสดงความคิดเห็นหรือแนะนาเพื่อน ๆ และสามารถปฏิบัติตามกฎกติกาที่กาหนดได้เป็นอย่างดีอีกด้วย การส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านการเล่นเกมด้วยความสนุกสนาน กิจกรรมเกมมีความหลากหลาย เด็กได้เรียนรู้โดยการกระทา และได้ฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง จะทาให้เด็กเกิดทัศนคติที่ดีต่อการเรียนคณิตศาสตร์ ผ่านการฝึกซ้า ๆ จนเกิดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นรากฐานในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ในระดับที่สูงขึ้น สอดคล้องกับความคิดเห็นของ อัมพร เบญจพลพิทักษ (2557: 35) ที่กล่าวไว้ว่า การส่งเสริมให้เด็กในวัยนี้มีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์และมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ ไม่เพียงส่งผลให้เด็กประสบความสาเร็จ ในการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์เท่านั้น แต่จะส่งผลต่อการเรียนรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ด้วย นอกจากนี้คณิตศาสตร์ยังมีบทบาทสาคัญทั้งในการเรียนรู้และมีประโยชน์ต่อการดาเนินชีวิตประจาวัน และเป็นพื้นฐานให้เด็กมีความพร้อมที่จะเรียนรู้คณิตศาสตร์ในอนาคตต่อไป

ข้อเสนอแนะ

1. ข้อเสนอในการนาไปใช้

1.1 ก่อนให้เด็กลงมือเล่นชุดเกมการศึกษา ครูควรสร้างความมั่นใจให้กับเด็กเพื่อให้เด็กเล่นได้อย่างถูกวิธี หากพบว่าเด็กยังไม่เข้าใจหรือมีปัญหาควรเข้าไปมีส่วนร่วมกับการเล่นของเด็ก

1.2 เมื่อสิ้นสุดการทากิจกรรมควรนาชุดเกมการศึกษาจัดไว้ที่มุมเกมการศึกษาหรือมุมหนึ่งของห้อง เพื่อให้เด็กได้เล่นและฝึกฝนทักษะต่อไป

1.3 ในระหว่างที่ทากิจกรรม ครูควรสร้างบรรยากาศที่เต็มไปด้วยการยอมรับเป็นกันเองและกระตุ้นให้เด็กได้เล่นอย่างอิสระ เปิดโอกาสให้เด็กได้เลือกเล่นเกมด้วยตนเอง ส่งผลให้เด็ก เกิดการพัฒนา การคิดจากการเล่นเกมตามศักยภาพของแต่ละบุคคล

1.4 ควรส่งเสริมให้ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในการเล่นเกมในช่วงก่อนเข้าเรียนและหลังเลิกเรียน นอกจากนั้นอาจมีการให้ยืมชุดเกมการศึกษากลับไปเล่นที่บ้านได้เพื่อสร้างบรรยากาศ การเรียนรู้ร่วมกันระหว่างเด็กกับผู้ปกครอง

2. ข้อเสนอแนะเพื่อการทดลองในครั้งต่อไป

2.1 ควรมีการศึกษาและพัฒนาชุดเกมการศึกษาส่งเสริมทักษะพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์หรือทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

2.2 ควรมีการพัฒนาชุดเกมการศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ โดยใช้แนวคิดของรูปแบบการสอบแบบต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับแบบการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคน เช่น แนวคิดเกี่ยวกับวัฒนธรรมและสังคม แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือ แนวคิดการสร้างสรรค์ความรู้ด้วยตนเอง เป็นต้น

2.3 ควรมีการศึกษาเรื่องการเปลี่ยนแปลงกระบวนการคิดผ่านชุดเกมการศึกษาส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สาหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2

2.4 ควรมีการศึกษาพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัยผ่านชุดเกมการศึกษา เพราะกิจกรรมส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมที่เน้นการเล่นหรือปฏิบัติกิจกรรมกลุ่ม มีกฎกติกาข้อตกลง และลาดับขั้นตอนการเล่น ซึ่งเป็นลักษณะหนึ่งของกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมพฤติกรรมทางสังคม

โพสต์โดย หนึ่ง : [25 ก.ค. 2560 เวลา 17:28 น.]
อ่าน [5341] ไอพี : 223.207.248.192
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 9,579 ครั้ง
ฟรีแวร์สำหรับแสดงและแก้ไขรูปภาพ
ฟรีแวร์สำหรับแสดงและแก้ไขรูปภาพ

เปิดอ่าน 34,472 ครั้ง
การลาศึกษาต่อต่างประเทศ
การลาศึกษาต่อต่างประเทศ

เปิดอ่าน 10,259 ครั้ง
สแกน...ลดเวลาเรียน "3 สัปดาห์"บรรลุเป้า?
สแกน...ลดเวลาเรียน "3 สัปดาห์"บรรลุเป้า?

เปิดอ่าน 13,863 ครั้ง
กฎเหล็กที่ควรรู้ หากอยากมีหุ่นสุดเป๊ะ
กฎเหล็กที่ควรรู้ หากอยากมีหุ่นสุดเป๊ะ

เปิดอ่าน 15,765 ครั้ง
มาทำความรู้จักกับวันสำคัญทางพระพุทธศาสนากันเถอะ
มาทำความรู้จักกับวันสำคัญทางพระพุทธศาสนากันเถอะ

เปิดอ่าน 12,242 ครั้ง
สมุนไพรช่วยลดความดัน
สมุนไพรช่วยลดความดัน

เปิดอ่าน 29,893 ครั้ง
หลัก 10 ประการ ช่วยให้นอนหลับ
หลัก 10 ประการ ช่วยให้นอนหลับ

เปิดอ่าน 8,138 ครั้ง
FOCUS ประเด็นจาก PISA : การกำกับดูแลที่มีประสิทธิผลส่งผลอย่างไรต่อการเรียนรู้
FOCUS ประเด็นจาก PISA : การกำกับดูแลที่มีประสิทธิผลส่งผลอย่างไรต่อการเรียนรู้

เปิดอ่าน 425,067 ครั้ง
ทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้

เปิดอ่าน 227,263 ครั้ง
รูปแบบจำลอง S M C R Model
รูปแบบจำลอง S M C R Model

เปิดอ่าน 20,116 ครั้ง
คลิปการ์ตูน ก-ฮ แบบเอาฮา พล็อตเรื่องดี
คลิปการ์ตูน ก-ฮ แบบเอาฮา พล็อตเรื่องดี

เปิดอ่าน 14,745 ครั้ง
จารีตประเพณีของชาวสยามตามชั้นบุคคลในฐานะต่าง ๆ
จารีตประเพณีของชาวสยามตามชั้นบุคคลในฐานะต่าง ๆ

เปิดอ่าน 28,400 ครั้ง
วันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม
วันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม

เปิดอ่าน 406,013 ครั้ง
ดาวน์โหลด แบบฝึกเพื่อพัฒนาทักษะการคิดเลขเร็ว ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6
ดาวน์โหลด แบบฝึกเพื่อพัฒนาทักษะการคิดเลขเร็ว ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6

เปิดอ่าน 52,076 ครั้ง
ข้าราชการ เกษียณแล้ว.....ได้อะไรบ้างนะ?
ข้าราชการ เกษียณแล้ว.....ได้อะไรบ้างนะ?

เปิดอ่าน 15,008 ครั้ง
ฟื้นฟูผิวหลังถูกแดดเผา
ฟื้นฟูผิวหลังถูกแดดเผา
เปิดอ่าน 10,693 ครั้ง
น้ำซุป เมนูเด็ดรักษาสุขภาพ
น้ำซุป เมนูเด็ดรักษาสุขภาพ
เปิดอ่าน 22,014 ครั้ง
10 เคล็ดลับการถ่ายภาพสวย สำหรับมือสมัครเล่น
10 เคล็ดลับการถ่ายภาพสวย สำหรับมือสมัครเล่น
เปิดอ่าน 19,356 ครั้ง
สมุนไพร "เบญจอำมฤตย์" รักษามะเร็งตับราคาพุ่ง
สมุนไพร "เบญจอำมฤตย์" รักษามะเร็งตับราคาพุ่ง
เปิดอ่าน 17,140 ครั้ง
คำค้นยอดนิยม กูเกิล-ยาฮู ประจำปี 2551
คำค้นยอดนิยม กูเกิล-ยาฮู ประจำปี 2551

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ