ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง หน่วยของชีวิตและชีวิตพืช สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้ศึกษา สุนันท์ เมืองปาน
ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง หน่วยของชีวิตและชีวิตพืช สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง หน่วยของชีวิตและชีวิตพืช สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง หน่วยของชีวิตและชีวิตพืช สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มเป้าหมายได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนอนุบาลมะนัง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง หน่วยของชีวิตและชีวิตพืช สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาที่ 1 ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น จำนวน 7 ชุด 2) แผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง หน่วยของชีวิตและชีวิตพืช สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่ 1 จำนวน 24 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง หน่วยของชีวิตและชีวิตพืช สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่ 1 เป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง หน่วยของชีวิตและชีวิตพืช สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่ 1 จำนวน 10 ข้อ เป็นแบบมาตรประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ คะแนนเฉลี่ย คะแนนเฉลี่ยร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง หน่วยของชีวิตและชีวิตพืช สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ 82.45/82.50 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง หน่วยของชีวิตและชีวิตพืช สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ยจากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ร้อยละ 55.86 ( = 22.34) และหลังใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ยจากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ร้อยละ 82.50 ( = 33.00) สรุปได้ว่า มีค่าพัฒนาคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนร้อยละ 47.70 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง หน่วยของชีวิตและชีวิตพืช สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เมื่อเปรียบเทียบรายข้อพบว่าความเหมาะสมของสื่อการเรียนรู้กับสาระการเรียนรู้และการจัดการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ( = 4.75 , = 0.44) รองลงมา คือ นำเสนอจากง่ายไปหายากและน่าสนใจ ( = 4.71 , = 0.45) ส่วนข้อที่มีคะแนนน้อยกว่าข้ออื่นๆ คือ เนื้อหาตรงกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้ ( = 4.32 , = 0.76) โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.51 , = 0.58) ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้