ชื่อวิจัย รายงานผลการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบเบรน (B-R-A-I-N) เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐาน
ทางคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาลสุรินทร์
ผู้วิจัย นางพรรณวดี รุ่งเจริญไพศาล
ปีที่วิจัย 2559
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ด้าน
การบอกตำแหน่ง ด้านการจับคู่ ด้านการรู้ค่าตัวเลข 1 - 10 และ ด้านการเพิ่มและลด
จำนวน 1 - 10 ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาลสุรินทร์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบเบรน (B-R-A-I-N)
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi - Experimental Design) ใช้กลุ่มทดลอง กลุ่มเดียว มีการวัดก่อนเรียนและหลังเรียน (One Group Pretest Posttest Design)
กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ครั้งนี้ คือ เด็กชาย เด็กหญิง ที่มีอายุระหว่าง 5 - 6 ปี ที่กำลังเรียนอยู่
ชั้นอนุบาลปีที่ 2/3 โรงเรียนอนุบาลสุรินทร์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 43 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ 1) กิจกรรมตามรูปแบบเบรน (B-R-A-I-N) เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 2) คู่มือการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบเบรน (B-R-A-I-N) เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 3) แบบประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ จำนวน 4 ชุด ชุดละ 5 ข้อ รวมทั้งหมด 20 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์โดยการคำนวณหาค่าเฉลี่ย ( ) ร้อยละ (P) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (t - test)
ผลการวิจัย พบว่า
ภายหลังการทดลองโดยใช้กิจกรรมตามรูปแบบเบรน (B-R-A-I-N) เพื่อพัฒนาทักษะ
พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาลสุรินทร์ มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ทั้งภาพรวมและรายด้านหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05