ชื่อเรื่อง : การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์
เรื่อง ปฏิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย : นางอมรพรรณ จรูญแสง
หน่วยงาน : โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น
ปีการศึกษา : 2559
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายตามแนวทฤษฎี
คอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง ปฏิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนบนเครือข่ายตามแนวทฤษฎีคอนสตรัค ติวิสต์ เรื่อง ปฏิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยบทเรียน
บนเครือข่ายตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง ปฏิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยบทเรียน บนเครือข่ายตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง ปฏิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเมืองพล พิทยาคม องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 523 คน จาก 12 ห้องเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/4 โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 49 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยการจับสลาก มีหน่วยสุ่มเป็นห้องเรียน จาก 12 ห้องเรียน ที่มีการจัดนักเรียนแบบคละความสามารถ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ บทเรียนบนเครือข่ายตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เรื่อง ปฏิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แบบทดสอบย่อยเป็นแบบปรนัย ชนิดแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 6 ชุด ชุดละ 10 ข้อ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบปรนัย ชนิดแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากง่ายรายข้อ (p) ตั้งแต่ 0.40 ถึง 0.60 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (r) ตั้งแต่ 0.28 ถึง 0.72 ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ ทั้งฉบับเท่ากับ 0.93 และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยบทเรียนบนเครือข่าย เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) แบ่งระดับความพึงพอใจเป็น 5 ระดับ จำนวน 30 ข้อ สถิติ
ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test dependent
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของบทเรียนบนเครือข่ายตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง ปฏิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเท่ากับ 88.20/87.07 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคือ 80/80
2. ดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนบนเครือข่ายตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง ปฏิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเท่ากับ .7806 แสดงว่านักเรียน
มีค่าความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 78.06
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายตามแนวทฤษฎี คอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง ปฏิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยบทเรียนบนเครือข่ายตามแนวทฤษฎี คอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง ปฏิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยของระดับความพึงพอใจเท่ากับ 4.53
การวิจัยในครั้งนี้ทำให้ได้บทเรียนบนเครือข่ายตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง ปฏิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายอยู่ในระดับมากที่สุด บรรลุตามวัตถุประสงค์ เป็นไปตามสมมติฐานของการศึกษาทุกประการและสามารถนำไปใช้ในการเรียน การสอนได้อย่างดี