ชื่อเรื่อง การนิเทศโดยใช้แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถด้านการอ่าน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2
ผู้ศึกษา นางสาววารีรัตน์ สติราษฎร์ ตำแหน่ง ศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะศึกษานิเทศก์ชำนาญการ
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพเอกสารแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถด้านการอ่าน สำหรับครูผู้สอนภาษาไทย 2) เพื่อศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลของการนิเทศโดยใช้เอกสารแนวทางการจัดการเรียนรู้ ที่ส่งเสริมความสามารถด้านการอ่าน 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูผู้สอนภาษาไทยที่มีต่อเอกสารแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถด้านการอ่าน 4) เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านของครูผู้สอนตามเอกสารแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถด้านการอ่าน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา ผู้ศึกษาได้ดำเนินการศึกษากับกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้นิเทศ ครูผู้สอนวิชาภาษาไทยนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพะเยา เขต 2 ได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จากโรงเรียนที่มีผลการคัดกรองการอ่านปีการศึกษา 2556 และ 2557 ที่ยังมีข้อมูลนักเรียนที่อ่านไม่ออก โดยดำเนินการนำร่องพัฒนาในโรงเรียนครอบคลุมโรงเรียนในเขตปฏิบัติการนิเทศ จำนวน 8 โรงเรียน และโรงเรียนนอกเขตปฏิบัติการนิเทศในกลุ่มเชียงคำ 2 จำนวน 8 โรงเรียน รวมทั้งสิ้น 16 โรงเรียน สามารถสรุปผลการศึกษาได้ ดังนี้ ประกอบด้วย ครูผู้รับผิดชอบการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 16 คน และนักเรียนเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการพัฒนาการอ่าน จำนวน 185 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา 1) เอกสารแนวทางทางการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถด้านการอ่าน สำหรับครูผู้สอนภาษาไทย
2) คู่มือการนิเทศเอกสารแนวทางทางการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถด้านการอ่าน 3) แบบทดสอบวัดความรู้ก่อน - หลังการเรียนรู้ (แบบปรนัย) ในเอกสารแนวทางทางการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถด้านการอ่าน สำหรับครูผู้สอนภาษาไทย 4) แบบสอบถามความคิดเห็นของครูผู้สอนต่อเอกสารแนวทางทางการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถด้านการอ่าน สำหรับครูผู้สอนภาษาไทย 5) แบบสอบถามความความคิดเห็นของครูผู้สอนต่อการนิเทศการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถด้านการอ่าน 6) แบบสังเกตการปฏิบัติการจัดกิจกรรมเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถด้านการอ่าน 7) แบบนิเทศติดตาม การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านของครูผู้สอนภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 8) แบบทดสอบวัดความรู้ก่อน หลังการเรียนรู้ (แบบปรนัย) จากการศึกษาเอกสารแนวทางทางการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถด้านการอ่าน สำหรับครูผู้สอนภาษาไทย โดยมีการวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้1) การวิเคราะห์การหาประสิทธิภาพของเอกสารแนวทางทางการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถด้านการอ่าน สำหรับครูผู้สอนภาษาไทย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2 โดยใช้สูตร E1/E2 2) การวิเคราะห์การหาดัชนีประสิทธิผลในกลุ่มเป้าหมายโดยการนำผลรวมของคะแนนทดสอบวัดความรู้หลังการเรียนรู้ (แบบปรนัย) ในเอกสารแนวทางทางการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถด้านการอ่าน สำหรับครูผู้สอนภาษาไทย คิดเป็นร้อยละและผลรวมของคะแนนทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจ ก่อนการนิเทศคิดเป็นร้อยละแล้วนำมาแทนค่าตามสูตร E.I. 3) การวิเคราะห์ข้อมูลความคิดเห็นของครูผู้สอนต่อเอกสารแนวทางทางการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถด้านการอ่าน สำหรับครูผู้สอนภาษาไทย โดยการหาค่าเฉลี่ย (μ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) ในการนี้นำค่าเฉลี่ยที่ได้มาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด และ 4) การวิเคราะห์ข้อมูลผลการประเมินผลการอ่านออกนักเรียนจากการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถด้านการอ่าน สำหรับครูผู้สอนภาษาไทยโดยวิเคราะห์จากผลการวัดความสามารถด้านการอ่านออกของนักเรียนกับเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการบรรยายตามสภาพจริง
สรุปผลการศึกษาได้ดังนี้
1) ประสิทธิภาพของเอกสารแนวทางทางการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถด้านการอ่าน
สำหรับครูผู้สอนภาษาไทย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2 มีประสิทธิภาพ 81.56 /81.88 ซึ่งมีค่าสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานร้อยละ 80/80
2) คะแนนเฉลี่ยก่อนการนิเทศและหลังการนิเทศโดยใช้เอกสารแนวทางทางการจัดการ
เรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถด้านการอ่าน สำหรับครูผู้สอนภาษาไทย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2 มีค่าดัชนีประสิทธิผลของนิเทศมีค่าเท่ากับ 0.5735 เมื่อคิดเป็นร้อยละ มีคะแนนสูงขึ้นร้อยละ 57.35
3) ครูผู้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถด้านการอ่าน มีความเห็นด้วยเกี่ยวกับ
เอกสารแนวทางทางการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถด้านการอ่าน สำหรับครูผู้สอนภาษาไทย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2 ในระดับมาก โดยมีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ โดยมีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านช่วยให้ครูได้แนวทางในการพัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนรู้ด้านการอ่าน ความเหมาะสมของเนื้อหาที่จะนำไปพัฒนาการจัดการเรียนรู้การอ่าน และเนื้อหาสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้พัฒนาด้านการอ่าน ส่วนข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเกี่ยวกับเอกสาร คือ ควรมีการเผยแพร่เอกสารดังกล่าวเพื่อใช้ในการพัฒนาและขับเคลื่อนการพัฒนาด้านการอ่านให้แก่สถานศึกษาที่ยังมีผลการประเมินการอ่านออกเขียนได้อยู่ในระดับปรับปรุงและอ่านไม่ออก และเผยแพร่ในรูปแบบเอกสารและสื่อโซเซียลให้ครูผู้สอนวิชาภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่สอนไม่ตรงเอกภาษาไทยหรือต้องการประสบการณ์ด้านการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาการอ่าน
4) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูผู้สอนแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถด้าน
การอ่าน โดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการบรรยายตามสภาพจริงสามารถสรุปผลออกเป็น 5 ส่วน ดังนี้
4.1) กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถด้านการอ่าน รายการประเมิน การเตรียม/การนำเข้าสู่บทเรียน โดยภาพรวมครูผู้สอนมีพฤติกรรมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีระดับคุณภาพปฏิบัติได้ดีมาก ได้แก่ แจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้/วิธีการเรียนรู้ การทบทวนความรู้ และเชื่อมโยงขั้นนำเข้าสู่บทเรียนกับขั้นการสอนอ่าน ตามลำดับ
4.2) กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถด้านการอ่าน รายการประเมิน ขั้นการสอน/การจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการอ่าน โดยภาพรวมพฤติกรรมการปฏิบัติการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนภาษาไทยที่มีระดับคุณภาพปฏิบัติได้ดีมาก 3 อันดับแรก ได้แก่ มีเครื่องมือฝึกการอ่าน ที่หลากหลาย กิจกรรมมีวิธีการสอนอ่านรูปแบบที่เหมาะสมกับการพัฒนานักเรียน และกิจกรรมการเรียนรู้ช่วยให้ผู้เรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์ ในขณะที่รายการปฏิบัติการจัดการเรียนรู้ที่มีระดับคุณภาพดีถึงดีมาก ได้แก่ กิจกรรมการเรียนรู้เป็นไปตามกระบวนการอ่าน การดำเนินกิจกรรมการจัดการเรียนรู้เป็นไปอย่างเป็นขั้นตอน และกิจกรรมมีการวางแผนการประเมินผลและการนำผลการประเมินไปใช้ในการวินิจฉัยนักเรียนเพื่อพัฒนาต่อไป ตามลำดับและจากการนิเทศ ติดตามจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูผู้สอนในห้องเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ตามแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการพัฒนาการอ่านยังพบว่า การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านของครูผู้สอนที่สมควรเป็นแบบอย่างในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในชั้นเรียน โดยเฉพาะในด้านการใช้เครื่องมือฝึกการอ่านที่หลากหลาย กิจกรรมมีวิธีการสอนอ่านรูปแบบที่เหมาะสมกับการพัฒนานักเรียนของนักเรียนในห้องและวิธีการสอนอ่านแจกลูกสะกดคำ จำนวน 5 คน
4.3) กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถด้านการอ่าน รายการประเมิน วิธีการสอนอ่าน โดยภาพรวมพฤติกรรมการปฏิบัติการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนภาษาไทยที่มีระดับคุณภาพปฏิบัติได้ดีถึงดีมาก ได้แก่ การจัดกิจกรรมการสอนอ่านแจกลูกสะกดคำ จัดกิจกรรมการสอนอ่านแบบทักษะบันได 4 ขั้น และจัดกิจกรรมการสอนอ่านด้วยวิธีการที่หลากหลาย และจากการนิเทศ ติดตามจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูผู้สอนในห้องเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ตามแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการพัฒนาการอ่าน พบว่า ครูผู้สอนภาษาไทยส่วนใหญ่ใช้วิธีการสอนอ่านแบบแจกลูกสะกดคำที่มีกระบวนการในการสอนแบบแจกลูกสะกดคำตามกระบวนการเริ่มจากการสอนอ่านคำ อ่านประโยค อ่านแจกลูกสะกดคำ การสร้างคำใหม่และแต่งประโยค สำหรับการจัดกิจกรรมการสอนอ่านแบบทักษะบันได 4 ขั้นตามแนวทางของศิวกานท์ ปทุมสูติ
4.4 ) กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถด้านการอ่าน รายการประเมิน วิธีการใช้สื่อหรือแหล่งการเรียนรู้ โดยภาพรวมพฤติกรรมการปฏิบัติการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนภาษาไทยที่มีระดับคุณภาพปฏิบัติได้ดีมาก ได้แก่ การใช้สื่อหรือแหล่งการเรียนรู้มีความเหมาะสมและมีสื่อหรือแหล่งการเรียนรู้ช่วยส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ด้านการอ่านออก ตามลำดับและจากการนิเทศ ติดตามจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูผู้สอนในห้องเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ตามแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการพัฒนาการอ่าน พบจุดเด่นที่คือมีวิธีการใช้สื่อหรือแหล่งการเรียนรู้ที่ครูผลิตขึ้นเองที่ช่วยกระตุ้นความสนใจในการเรียนรู้ของนักเรียนได้เป็นอย่างดี
4.5) กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถด้านการอ่าน รายการประเมิน วิธีการใช้สื่อหรือแหล่งการเรียนรู้ โดยภาพรวมพฤติกรรมการปฏิบัติการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนภาษาไทยที่มีระดับคุณภาพปฏิบัติได้ดีมาก ได้แก่ การใช้สื่อหรือแหล่งการเรียนรู้มีความเหมาะสมและมีสื่อหรือแหล่งการเรียนรู้ช่วยส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ด้านการอ่านออก ตามลำดับ
และจากการนิเทศ ติดตามจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูผู้สอนในห้องเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ตามแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการพัฒนาการอ่าน พบจุดเด่น คือ มีการวัดและประเมินผลการอ่านของนักเรียนโดยให้ผู้ปกครองได้ร่วมประเมินนักเรียนเพื่อการพัฒนาแก้ไขร่วมกัน
การประเมินการอ่านออกของนักเรียนจากการเรียนรู้ส่งเสริมความสามารถด้านการอ่าน
สำหรับครูผู้สอนภาษาไทย มีคุณภาพระดับดีถึงดีมาก ตามรายการความสามารถด้านการอ่าน ได้แก่ความสามารถในการอ่านออกเสียงคำ ความสามารถในการอ่านออกเสียงประโยค และความสามารถในการอ่านออกเสียงข้อความ ตามลำดับ นอกจากนี้จากการนิเทศติดตามในชั้นเรียน ยังพบว่า มีนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้จากครูผู้สอนรายวิชาภาษาไทยที่ได้ศึกษาตามเอกสารแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการพัฒนาการอ่านสามารถอ่านคำจากบัญชี คำพื้นฐานได้ตามการประเมินที่ผู้ศึกษานำไปให้อ่าน