ชื่อเรื่อง : การพัฒนาทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ด้วยแบบฝึกเสริมทักษะร่วมกับ
การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
โรงเรียนเทศบาล ๓ (วัดพุทธภูมิ)
ชื่อผู้วิจัย : สินีนาฏ มะลิลา
หน่วยงาน : โรงเรียนเทศบาล ๓ (วัดพุทธภูมิ) สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครยะลา
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
ปีการศึกษา : 2559
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องการพัฒนาทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ด้วยแบบฝึกเสริมทักษะร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4โรงเรียนเทศบาล ๓ (วัดพุทธภูมิ) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาศึกษาประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ชั้นประถม ศึกษาปีที่ 4 ตามเกณฑ์ที่กำหนด (80/80) 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกเสริมทักษะร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT 3) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังการจัดการด้วยแบบฝึกเสริมทักษะร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกเสริมทักษะร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนเทศบาล ๓ (วัดพุทธภูมิ) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ร้อยละ (%) และทดสอบค่าที (t - test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากการทดลองแบบภาคสนามมีประสิทธิภาพด้านกระบวนการ (E1) และมีประสิทธิภาพด้านผลลัพธ์ (E2) เท่ากับ 86.01/83.25 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (80/80) และสอดคล้องกับสมมติฐานข้อที่ 1
2. ทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT หลังเรียน ( = 33.61, S.D. = 1.49) สูงกว่าก่อนเรียน ( = 18.00, S.D. = 2.38) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สอดคล้องกับสมมติฐานข้อที่ 2
3. พฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LTอยู่ในระดับดี ( = 13.59) สอดคล้องกับสมมติฐานข้อที่ 3 และมีแนวโน้มของพฤติกรรมการทำงานกลุ่มเป็นไปในทิศทางที่พัฒนาขึ้น โดยครั้งที่ 1 ชุดการเขียนสร้างสรรค์คำอยู่ในระดับพอใช้ ( = 10.33) ครั้งที่ 2 ชุดการเขียนสร้างสรรค์ประโยค อยู่ในระดับดี ( = 13.75) ครั้งที่ 3 ชุดการเขียนสร้างสรรค์ข้อความ อยู่ในระดับดี ( = 14.63) ครั้งที่ 4 ชุดการเขียนสร้างสรรค์เรื่องอยู่ในระดับดี ( = 15.63)
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกเสริมทักษะร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 2.97 S.D. = 0.39)