ชื่อผลงานทางวิชาการ รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์อยู่อย่างพอเพียงของนักเรียน โรงเรียนวัดศรีเมือง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1
ผู้วิจัย ปิยะนุช อาณาเขตต์
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนวัดศรีเมือง
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1
ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์อยู่อย่างพอเพียงของนักเรียน โรงเรียนวัดศรีเมือง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินบริบทของโครงการ ประเมินปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ ประเมินกระบวนการของโครงการ และประเมินผลผลิตของโครงการในด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์อยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนที่เกิดกับนักเรียนภายหลังการดำเนินงานโครงการและความพึงพอใจต่อการดำเนินงานของโครงการของผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP ของ Stufflebeam
ประชากรที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 5 คนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 16 คน ผู้ปกครองนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1- 6 จำนวน 41 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน รวมทั้งสิ้น 69 คนซึ่งได้มาจากเลือกแบบเจาะจง
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ จำนวน 5 ฉบับ ได้แก่ แบบสอบถามเพื่อการประเมินสภาวะแวดล้อมของโครงการแบบสอบถามเพื่อการประเมินปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ
แบบสอบถามเพื่อการประเมินกระบวนการดำเนินงานของโครงการแบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์อยู่อย่างพอเพียงที่เกิดกับนักเรียนภายหลังสอบถามเพื่อการประเมินผลผลิตของโครงการและแบบประเมินความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการ โดยหาคุณภาพแบบประเมินทั้ง 5 ฉบับด้วยการตรวจสอบความตรงเนื้อหา (Content Validity) โดยการคำนวณค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ของการประเมิน IOC และหาความเที่ยงโดยใช้วิธีการประมาณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า ( - Coefficient) ของ Cronbach ได้ค่าความเที่ยง 0.89 0.96 0.84 0.98 และ0.91ตามลำดับ ซึ่งแบบประเมินแต่ละฉบับแบ่งออกเป็น 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ (Check list) ตอนที่ 2 การประเมินโครงการในแต่ละวัตถุประสงค์ของการประเมิน มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scales) และตอนที่ 3 ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
การเก็บรวบรวมข้อมูลดำเนินการตามขั้นตอนและระยะเวลา ดังนี้ 1) การประเมินก่อนเริ่ม
ดำเนินโครงการ ทำการประเมินในช่วงเดือนพฤษภาคม 2559 ซึ่งประเมินใน 2 ส่วน คือการประเมินบริบทของโครงการและการประเมินปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ ผู้ประเมินนำแบบประเมินทั้ง 2 ฉบับ แจกให้ครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานพร้อมทั้งเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง ในช่วงวันที่ 2 - 4พฤษภาคม 2559 ฉบับละ จำนวน 12 ชุด ได้รับคืนมาฉบับละ 12 ชุด คิดเป็นร้อยละ 100 2) การประเมินระหว่างดำเนินงานโครงการ ในช่วงเดือนมิถุนายน 2559 ถึงกุมภาพันธ์ 2560 ผู้ประเมินนำแบบประเมินกระบวนการดำเนินการดำเนินงานชองโครงการของโครงการแจกให้กับครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครองนักเรียน พร้อมทั้งเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง ในช่วงเดือนมิถุนายน 2559 กุมภาพันธ์ 2560 จำนวน 53 ฉบับ ได้รับคืนมาจำนวน 53 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100 และ 3) การประเมินหลังสิ้นสุดโครงการ (Product Evaluation) ทำการประเมินผลผลิตของโครงการและความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ผู้ประเมินทั้ง 2 ฉบับแจกให้กับครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียน พร้อมทั้งเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง ในช่วงเดือนมีนาคม 2560 ฉบับละ 69 ชุด ได้รับคืนฉบับละ 69 ชุด คิดเป็นร้อยละ 100
การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แปลความหมายโดยเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้
สรุปผลการประเมิน
การประเมินโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์อยู่อย่างพอเพียงของนักเรียน โรงเรียนวัดศรีเมือง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1
1. ด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการ (Context:C)
การวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษาฯ โดยภาพรวม มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาผลการประเมินโครงการ เป็นรายข้อ พบว่า มีความสอดคล้องเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดจำนวน 3 ข้อ โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ ความสอดคล้องกับนโยบายในการจัดการศึกษาของโรงเรียน ผลที่คาดว่าจะได้รับของโครงการ มีความสัมพันธ์สอดคล้องเหมาะสมกับวัตถุประสงค์และการดำเนินการของโครงการ และความสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
2. ด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input:I)
แบบสอบถาม ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษาฯ โดยภาพรวม
มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาผลการประเมินโครงการ เป็นรายข้อ พบว่า มีความสอดคล้องเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน 1 ข้อ คือด้านวัสดุอุปกรณ์และอาคารสถานที่ และมีความสอดคล้องเหมาะสมอยู่ในระดับมาก จำนวนข้อ3 โดยเรียงจากน้อยไปหามาก ด้านการบริหารจัดการและสนับสนุนของฝ่ายบริหาร ด้านบุคลากร และด้านงบประมาณ
3. ด้านกระบวนการ (Process:P)
การวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน คณะกรรมการ
สถานศึกษาฯ และผู้ปกครองนักเรียน โดยภาพรวม มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาผลการประเมินโครงการ เป็นรายข้อ พบว่า มีความสอดคล้องเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดจำนวน 3 ข้อ โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ กิจกรรมการจัดการเรียนรู้บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรมเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และกิจกรรมวันสำคัญทางศาสนา
4. ด้านผลผลิต (Product:P)
การวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน นักเรียน ผู้ปกครอง
นักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาฯ โดยภาพรวม มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาผลการประเมินโครงการ เป็นรายข้อ พบว่า มีความสอดคล้องเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ ความพึงพอใจของครูผู้สอน นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองนักเรียนและพฤติกรรมคุณลักษณะอันพึงประสงค์อยู่อย่างพอเพียง
4.1 พฤติกรรมการมีคุณลักษณะด้านพฤติกรรมคุณลักษณะอันพึงประสงค์อยู่อย่างพอเพียงวิเคราะห์แบบสอบถาม ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาฯและผู้ปกครองนักเรียน โดยภาพรวม มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาผลการประเมินโครงการ เป็นรายข้อ พบว่า มีความสอดคล้องเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดจำนวน 4 ข้อ โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ยกเว้น ด้านความรู้ มีความเหมาะสมเพียงพอ อยู่ในระดับมาก
4.2 ความพึงพอใจของครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาฯ และผู้ปกครองนักเรียน
วิเคราะห์แบบสอบถาม ตามความคิดเห็นของครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาฯ และผู้ปกครองนักเรียน โดยภาพรวม มีผลความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาผลการประเมินโครงการ เป็นรายข้อ พบว่า มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุดจำนวน 8 ข้อ โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ กิจกรรมเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรมการจัดการเรียนรู้บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านมีคุณธรรมด้านมีภูมิคุ้มกันที่ดี กิจกรรมทำบัญชีรายรับรายจ่ายและออมทรัพย์ ด้านความพอประมาณกิจกรรมวันสำคัญทางศาสนา และด้านความมีเหตุผลยกเว้น กิจกรรมโฮมรูม และด้านความรู้ มีความเหมาะสมเพียงพอ อยู่ในระดับมาก