ชื่อเรื่อง รายงานผลการใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจองเพื่อพัฒนาความสามารถทางภาษาด้านการพูด
สำหรับนักเรียน ชั้นอนุบาลปีที่ 2
ชื่อผู้ศึกษา นางสุจิตรา ดวงคะชาติ
ตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการ โรงเรียนบ้านพูด กรป.กลาง
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุงเขต2
ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของหนังสือภาพประกอบ
คำคล้องจองเพื่อพัฒนาความสามารถทางภาษาด้านการพูด สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการพูดของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ก่อนและหลังการใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจองเพื่อพัฒนาความสามารถทางภาษาด้านการพูด 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่มีต่อการใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจองเพื่อพัฒนาความสามารถทางภาษาด้านการพูด สำหรับนักเรียน ชั้นอนุบาลปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียน ชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนบ้านพูด กรป.กลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 จำนวนนักเรียน 17 คน ได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เนื่องจากผู้ศึกษาเป็นครูประจำชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ 1. หนังสือภาพประกอบคำคล้องจอง มีเนื้อหาสัมพันธ์กับหน่วยการเรียนเรื่องธรรมชาติรอบตัว จำนวน 8 เล่ม 2. แผนการจัดประสบการณ์การใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจองเพื่อ พัฒนาความสามารถทางการพูดของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 24 แผน 3 แบบทดสอบวัดความสามารถทางการพูด จำนวน 3 ชุด 4. แบบสังเกตพฤติกรรมการพูดของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่2 5.แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่2ที่ได้รับการจัดกิจกรรมพัฒนาความสามารถทางการพูด โดยใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) ประสิทธิภาพของหนังสือภาพประกอบคำคล้องจอง โดยใช้E1/E2 และการทดสอบแบบt - test
ผลการศึกษาพบว่า 1) หนังสือภาพประกอบคำคล้องจองเพื่อพัฒนาความสามารถทางภาษาด้านการพูดสำหรับนักเรียน ชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ E1/ E2 เท่ากับ 85.00/85.64 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจองเพื่อพัฒนาความสามารถทางภาษาด้านการพูด สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ และ 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้โดยใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจองเพื่อพัฒนาความสามารถทางภาษาด้านการพูดสำหรับนักเรียน ชั้นอนุบาลปีที่ 2 อยู่ในระดับมาก