ชื่อเรื่อง การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน(QSCCS) ที่ส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบการย่อยอาหารและการสลายสารอาหารระดับเซลล์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ผู้ศึกษาค้นคว้า นางโรจนี เลื่องสีนิล
สถาบันการศึกษา โรงเรียนบางขันวิทยา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12
ปีที่ทำการวิจัย 2559
บทคัดย่อ
การค้นคว้าด้วยตนเองครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย คือ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง ระบบการย่อยอาหารและการสลายสารอาหารระดับเซลล์ โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน (QSCCS) สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ตามเกณฑ์ 80/80 2)เพื่อทดลองใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง ระบบการย่อยอาหารและการสลายสารอาหารระดับเซลล์ โดยใช้กระกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน (QSCCS) สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ได้แก่ 2.1)เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง ระบบการย่อยอาหารและการสลายสารอาหารระดับเซลล์ โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน (QSCCS) สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2.2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง ระบบการย่อยอาหารและการสลายสารอาหารระดับเซลล์ โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน (QSCCS) สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กับเกณฑ์ 80 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนในการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง ระบบการย่อยอาหารและการสลายสารอาหารระดับเซลล์ฯ ซึ่งได้ใช้ระเบียบวิจัยพัฒนา แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การสร้างและหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยผู้วิจัยได้ให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน พิจารณาความเหมาะสมของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ แล้วนำชุดกิจกรรมการเรียนรู้ไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบางขันวิทยาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 3 กลุ่มคือ รายบุคคล จำนวน 3 คน และกลุ่มขนาดเล็กจำนวน 9 คน เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมทางด้านภาษา เวลา แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไข จากนั้นนำมาทดลองใช้กับทดลองภาคสนาม จำนวน 30 คน เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามเกณฑ์ 80/80 เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบประเมินความเหมาะสมของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ และชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ระบบการย่อยอาหารและการสลายสารอาหารระดับเซลล์ จำนวน 7 ชุด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาค่าประสิทธิภาพ E1/E2 ขั้นตอนที่ 2 การทดลองใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง ระบบการย่อยอาหารและการสลายสารอาหารระดับเซลล์ นำชุดกิจกรรมการเรียนรู้มาใช้กับกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบางขันวิทยา ปีการศึกษา 2559 จำนวน 39 คน แบบแผนวิจัยที่ใช้ในการทดลอง One Group Pretest-Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ประกอบด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ระบบการย่อยอาหารและการสลายสารอาหารระดับเซลล์ จำนวน 7 ชุด และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติทดสอบทีแบบไม่อิสระ(t-test Dependent) ขั้นตอนที่ 3 การศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ระบบการย่อยอาหารและการสลายสารอาหารระดับเซลล์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนบางขันวิทยา ปีการศึกษา 2559 จำนวน 30 คน ที่ได้ใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ระบบการย่อยอาหารและการสลายสารอาหารระดับเซลล์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาค้นคว้า พบว่า
1.ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ระบบการย่อยอาหารและการสลายสารอาหารระดับเซลล์ โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน (QSCCS) สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ( = 4.75, S.D. = 0.48) และเมื่อนำไปทดลองใช้พบว่ามีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.03/82.31
2.ผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ มีดังนี้
2.1นักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง ระบบการย่อยอาหารและการสลายสารอาหารระดับเซลล์โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน (QSCCS) สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05
2.2นักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง ระบบการย่อยอาหารและการสลายสารอาหารระดับเซลล์ โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน (QSCCS)สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.ความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ระบบการย่อยอาหารและการสลายสารอาหารระดับเซลล์โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน (QSCCS) สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีความพึงพอใจในระดับมาก