บทคัดย่อ
ชื่อการศึกษา : รายงานผลการใช้แบบฝึกพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยวิธี SQ4R
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนแม่จันวิทยาคม
ชื่อผู้ศึกษา : นางเอื้อง สิทธิประเสริฐ
ปีการศึกษา : 2559
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการศึกษา 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยวิธี SQ4R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน ของนักเรียนที่ใช้แบบฝึกพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยวิธี SQ4R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้แบบฝึกพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยวิธี SQ4R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประชากรในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 153 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 36 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง (Perposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบฝึกพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยวิธี SQ4R จำนวน 7 เล่ม แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยวิธี SQ4R จำนวน 50 ข้อ และ แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้แบบฝึกพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยวิธี SQ4R แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 50 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความเชื่อมั่นของผลสัมฤทธิ์ที่สูงขึ้น แบบ Dependent Samples T Test วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป
ผลการศึกษาพบว่า
1. การสร้างแบบฝึกพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยวิธี SQ4R ที่ผู้ศึกษาได้
สร้างขึ้น ภาพรวมมีความเหมาะสมมากที่สุด ( = 4.91) และมีประสิทธิภาพ (E1 // E2) สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80 โดยเฉลี่ย เท่ากับ 89.24/87.22
2. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน ของนักเรียนที่ใช้แบบฝึกพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยวิธี SQ4R พบว่า นักเรียนมีพัฒนาการสูงขึ้น ( = 18.42) คิดเป็นร้อยละ 36.84 ซึ่งแสดงว่า แบบฝึกพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยวิธี SQ4R สามารถพัฒนาความรู้ความเข้าใจ เรื่องการอ่านอย่างมีวิจารณญาณได้ และมีความเชื่อมั่นของผลสัมฤทธิ์ที่สูงขึ้น (Dependent Samples T Test) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้แบบฝึกพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยวิธี SQ4R พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการใช้แบบฝึกพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยวิธี SQ4R ในภาพรวมมีความพึงพอใจมากที่สุด ( = 4.91)