รายงานผลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การดำรงพันธุ์ของพืชและสัตว์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
การศึกษานี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องการดำรงพันธุ์ของพืชและสัตว์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงพันธุ์ของพืชและสัตว์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงพันธุ์ของพืชและสัตว์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านทุ่งกะโตน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องการดำรงพันธุ์ของพืชและสัตว์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 9 ชุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการดำรงพันธ์ของพืชและสัตว์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงพันธุ์ของพืชและสัตว์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละความก้าวหน้าและทดสอบค่าที
ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลการสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องการดำรงพันธุ์ของพืชและสัตว์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่ามีประสิทธิภาพ 84.30/81.83
2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องการดำรงพันธุ์ของพืชและสัตว์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าร้อยละความก้าวหน้าเฉลี่ย เท่ากับ 47.80 และคะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องการดำรงพันธุ์ของพืชและสัตว์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่าโดยภาพรวมนักเรียน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.34 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.54
ผู้รายงาน นางจันทร์ดา ชัยสุรินทร์ ครูโรงเรียนบ้านทุ่งกะโตน สพป.ประจวบคีรีขันธ์ เขต 1