ก
เรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียน การสอนแบบโครงงานที่ส่งเสริมความสามารถในการ
แก้ปัญหาวิชาวิทยาศาสตร์ (PBCA) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2
ผู้วิจัย นางสาวรัตนาภร สุดดี
หน่วยงาน โรงเรียนเทศบาลวัดตึกมหาชยาราม เทศบาลนครสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร
ปีที่ศึกษา 25 59
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียน การสอนแบบ โครงงาน ที่
ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา วิชาวิทยาศาสตร์ (PBCA) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2
2) ศึกษาผลของการใช้รูปแบบการเรียน การสอนแบบ โครงงาน ที่ส่งเสริมความสามารถในการ
แก้ปัญหา วิชาวิทยาศาสตร์ (PBCA) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2 การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัย
และพัฒนา (R&D) โดยมีวิธีการดา เนินการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาข้อมูลเบื้องต้น 2) การสร้าง
รูปแบบการเรียน การสอน 3) ทดลองใช้รูปแบบการ เรียนการสอน และ 4) การประเมินผลและ
ปรับปรุงรูปแบบการเรียน การสอน ในขั้นการทดลองใช้ รูปแบบการเรียน การสอนแบบ โครงงาน ที่
ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา วิชาวิทยาศาสตร์ (PBCA) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2 มี
แบบแผนการวิจัยที่มีกลุ่มควบคุม และการทดสอบก่อนการทดลองและหลังการทดลอง ( Pretest-
Postest Control Group Design) กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปี
การศึกษา 2559 จา นวน 70 คน ใช้การสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) แบ่งเป็น กลุ่มทดลอง
ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น จา นวน 35 คน และกลุ่มควบคุมที่เรียนด้วยการสอน
แบบปกติ จา นวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการสอนโครงงาน
วิทยาศาสตร์ 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2 และ
3) แบบวัดเจตคติต่อ วิชาวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (  ) ร้อยละ
(Percentage) และส่วนความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สถิติที่ใช้ในการเปรียบเทียบ t-dependent
ข
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการเรียน การสอนแบบ โครงงาน ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา วิชา
วิทยาศาสตร์ (PBCA) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2 มีความสอดคล้องกันในทุกองค์ประกอบและ
มีความเหมาะสมในระดับมากถึงมากที่สุด มีกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ
1) การระบุปัญหา (Problem : P )2) การศึกษาข้อมูลเบื้องต้น (Basic data : B ) 3) การสร้างและการ
ตรวจสอบ (Creation & Check : C ) และ 4) การปรับปรุงและการนาไปใช้ (Apply : A)
2. ผลของการใช้รูปแบบการเรียน การสอนแบบ โครงงาน ที่ส่งเสริมความสามารถในการ
แก้ปัญหาวิชาวิทยาศาสตร์ (PBCA) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2 หลังการทดลองในภาพรวมและ
รายด้านทุกด้านสูงกว่าก่อนการทดลอง ในด้าน
2.1 ความสามารถในการ แก้ปัญหา กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละความสามารถใน
การแก้ปัญหาวิชาวิทยาศาสตร์ในภาพรวม และรายด้านหลังการทดลอง สูงกว่าก่อนการทดลอง และ
สูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสา คัญที่ระดับ .01
2.2 เจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ ของกลุ่มทดลองมีคะแนนเจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ใน
ภาพรวม และรายด้านทุกด้านหลังการทดลอง สูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมี
นัยสา คัญที่ระดับ .01