บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง
ผู้วิจัย
ปีการศึกษา รายงานการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง เวลา
โดยใช้รูปแบบซิปปาประกอบแบบฝึกทักษะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
นางมะลิจันทร์ ดอนกระสินธุ์
โรงเรียนพิพัฒน์ราษฎร์บำรุง
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1
2559
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง เวลา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างก่อนกับหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ
ซิปปาประกอบแบบฝึกทักษะ 2) เพื่อหาค่าประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ คณิตศาสตร์ เรื่อง เวลา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ประกอบรูปแบบซิปปา 3) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะ คณิตศาสตร์ เรื่อง เวลา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ประกอบรูปแบบซิปปา
4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบซิปปาประกอบแบบฝึกทักษะ ประชากรเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนพิพัฒน์ราษฎร์บำรุง 3 ห้องเรียน จำนวน 86 คน กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนห้อง ป.2/1 จำนวน 28 คน ซึ่งมาได้ด้วยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินงานประกอบด้วย 1) แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เวลาชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เพื่อใช้ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา จำนวน 13 ชุด 2) แผนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง เวลา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้รูปแบบซิปปาประกอบแบบฝึกทักษะ มีจำนวน 13 แผน
แต่ละแผนประกอบด้วย มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด สาระสำคัญ สาระการเรียนรู้ จุดประสงค์การเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ ชิ้นงานหรือภาระงาน แหล่งการเรียนรู้ / สื่ออุปกรณ์ การวัดและประเมินผล 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จำนวน 15 ข้อ 4) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้รูปแบบซิปปาประกอบแบบฝึกทักษะที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 3 ระดับ ได้แก่ พึงพอใจระดับมาก พึงพอใจในระดับปานกลาง พึงพอใจในระดับน้อย จำนวน 10 ข้อ แบบแผนที่ใช้ในการดำเนินงานใช้แบบแผนการวิจัย The single group pretest-posttest design ดำเนินการวิจัยในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 ทั้งสิ้น 13 ชั่วโมง สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าเฉลี่ย t-test กำหนดระดับนัยสำคัญของการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างก่อนและหลังการทดลองที่ .05 และกำหนดระดับความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะในระดับมาก
สรุปผลการศึกษา
1. คะแนนกระบวนการซึ่งได้จากการเรียนรู้ของนักเรียนระหว่างเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะและ
คะแนนผลลัพธ์ที่สามารถวัดได้จากการทำแบบทดสอบมีค่าเท่ากับ 87.08 (E1) และคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง เวลา ของนักเรียนหลังเรียนมีค่าเท่ากับ 90.17 (E2) ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ คณิตศาสตร์ เรื่อง เวลา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ประกอบรูปแบบซิปปา จึงมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ E1/E2 = 87.08/90.17
2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะ คณิตศาสตร์ เรื่อง เวลา สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ประกอบรูปแบบซิปปามีค่าเท่ากับ 0.7884 คิดเป็นร้อยละ 78.84
3. ผลการเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
เรื่อง เวลา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะ คณิตศาสตร์ เรื่อง เวลา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ประกอบรูปแบบซิปปาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์
เรื่อง เวลา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ประกอบรูปแบบซิปปา เมื่อพิจารณาโดยภาพรวมพบว่ามีค่าเฉลี่ยของความพึงพอใจในระดับมาก