การรายงานโครงการสถานศึกษาพอเพียงของโรงเรียนบ้านสันป่าเปา ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
รายงานผลการดำเนินงาน และรายงานความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องต่อการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาพอเพียงของโรงเรียนบ้านสันป่าเปาทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา
ด้านหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา
การรายงานโครงการในครั้งนี้ใช้ประชากรเป็นกลุ่มตัวอย่าง คือ ครูโรงเรียนบ้านสันป่าเปา จำนวน 4 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 ของโรงเรียนบ้านสันป่าเปา ปีการศึกษา 2558 จำนวน 10 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 ของโรงเรียนบ้านสันป่าเปา
ปีการศึกษา 2558 จำนวน 10 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียน
บ้านสันป่าเปา จำนวน 7 คน รวมทั้งสิ้น 31 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการรายงานครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) และแบบคำถามปลายเปิด มี 2 ชุด คือ ชุดที่ 1 เป็นแบบสอบถามคณะครู ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เกี่ยวกับผลการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาพอเพียงของโรงเรียนบ้านสันป่าเปา ปีการศึกษา 2558 ชุดที่ 2 เป็นแบบสอบถามคณะครู นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียนเกี่ยวกับความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาพอเพียงของ โรงเรียนบ้านสันป่าเปา ปีการศึกษา 2558 ซึ่งแบบสอบถามชุดที่ 1 และชุดที่ 2 ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.9588 และ 0.9294 สถิติที่ใช้ในการรายงาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x )
และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และแปลความหมายข้อมูลตามเกณฑ์ที่กำหนด
ผลการศึกษา พบว่า
1. ผลการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาพอเพียงของโรงเรียนบ้านสันป่าเปา โดยภาพรวม
มีระดับความคิดเห็นในระดับมาก (x = 4.26, S.D. = 0.33) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน
เรียงตามลำดับได้แก่ ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา (x = 4.46, S.D. = 0.37) รองลงมาคือ
ด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา (x = 4.38, S.D. = 0.42) และด้านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ( x= 4.27, S.D. = 0.45) ตามลำดับ ลำดับสุดท้าย คือ ด้านหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (x = 4.14, S.D. = 0.45)
2. ผลความพึงพอใจในโครงการสถานศึกษาพอเพียงของโรงเรียนบ้านสันป่าเปา โดยภาพรวม
มีระดับความพึงพอใจในระดับมาก (x = 4.49, S.D. = 0.27) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงตามลำดับได้แก่ ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา ( x= 4.57, S.D. = 0.35) รองลงมาคือ
ด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา (x = 4.49, S.D. = 0.30) และด้านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (x = 4.47, S.D. = 0.28) ตามลำดับ ลำดับสุดท้ายคือ ด้านหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (x = 4.45, S.D. = 0.32)
ปัญหา/อุปสรรค และข้อเสนอแนะการดำเนินงาน สรุปความเห็นได้ดังต่อไปนี้
1. ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา โรงเรียนขาดแคลนงบประมาณด้านปรับปรุง
แหล่งเรียนรู้ และอาคารสถานที่ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
และชุมชนไม่ค่อยมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการสถานศึกษา ข้อเสนอแนะคือ โรงเรียนควรประสานกับหน่วยงานภายนอกเพื่อขอรับการ สนับสนุนงบประมาณ เพื่อปรับปรุงแหล่งเรียนรู้ และอาคารสถานที่ และควรให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการสถานศึกษา
2. ด้านหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โรงเรียนไม่มีสื่อการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และครูยังไม่มีความรู้ด้านการวัดและประเมินผลด้วยเครื่องมือที่หลากหลาย ข้อเสนอแนะคือ โรงเรียนควรผลิต/จัดหาสื่อการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และควรวัดและประเมินผลผู้เรียนตามสภาพจริงด้วยวิธีการ
และเครื่องมือที่หลากหลายครอบคลุมหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทุกกลุ่มสาระ
3. ด้านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โรงเรียนไม่ค่อยจัดกิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ข้อเสนอแนะคือ โรงเรียนควรจัดกิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี เพื่อส่งเสริม
ให้ผู้เรียนเข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพราะโดยมากจะเน้นเรื่องความอดทนและสามัคคี
เป็นหลักไม่มีเรื่องการดำเนินชีวิตที่พอเพียงมาเกี่ยวข้องมากนัก
4. ด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา โรงเรียนไม่ค่อยนำบุคลากรและผู้ที่เกี่ยวข้องประชุม หรือศึกษาดูงานนอกสถานที่ ข้อเสนอแนะคือ ควรสร้างความตระหนักและเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแก่บุคลากรโดยการจัดประชุม/ อบรม/ สัมมนา ศึกษาดูงานนอกสถานที่เพื่อสร้างความตระหนักในคุณค่าของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยขอรับงบประมาณสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก