บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง รายงานผลการใช้แผ่นภาพประกอบคำคล้อง เพื่อพัฒนาความสามารถทางภาษา
ด้านการฟังและการพูดของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 โรงเรียนบ้านควนเสม็ด
ชื่อผู้ศึกษา นางสาววนิดา ขุนทอง
ปีการศึกษา 2559
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การใช้แผ่นภาพประกอบคำคล้องจอง เพื่อพัฒนาความสามารถทางภาษาด้านการฟังและการพูด ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถทางภาษาด้านการฟังและการพูดของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ระหว่างก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การใช้การใช้แผ่นภาพประกอบคำคล้องจองเพื่อพัฒนาความสามารถทางภาษาด้านการฟังและการพูด และ3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ที่ใช้แผ่นภาพประกอบคำคล้องจอง เพื่อพัฒนาความสามารถทางภาษาด้านการฟังและการพูด ประชากรในการศึกษา เป็นนักเรียนที่ศึกษาอยู่ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนบ้านควนเสม็ด อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา จำนวน 30 คน โดยดำเนินการทดลองและพัฒนาเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้มีดังนี้ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ประกอบด้วย แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้การใช้แผ่นภาพประกอบคำคล้องจองเพื่อพัฒนาความสามารถทางภาษาด้านการฟังและการพูด จำนวน 24 แผน 2) เครื่องมือที่ใช้ในการวัดผลและประเมินผล ประกอบด้วย แบบประเมินความสามารถทางภาษาด้านการฟังและการพูดของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมความสามารถทางภาษาด้านการฟังและการพูดของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การใช้แผ่นภาพประกอบคำคล้องจองเพื่อพัฒนาความสามารถทางภาษาด้านการฟังและการพูดของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย (µ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD)
ผลการศึกษาปรากฏว่า
1. แผนการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การใช้แผ่นภาพประกอบคำคล้องจอง เพื่อพัฒนาความสามารถทางภาษาด้านการฟังและการพูด จำนวน 24 แผน และมีประสิทธิภาพด้านกระบวนการและผลลัพธ์เท่ากับ 82.67/82.44 ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด คือ 80/80
2. ผลการเปรียบเทียบความสามารถทางภาษาด้านการฟังและการพูดของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ระหว่างก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การใช้แผ่นภาพประกอบคำคล้องจอง เพื่อพัฒนาความสามารถทางภาษาด้านการฟังและการพูด ปรากฏว่า คะแนนความสามารถทางภาษาด้านการฟังและการพูดของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ก่อนการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์มีค่าเฉลี่ย (µ) เท่ากับ 13.37 หลังการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้แผนการจัดประสบการณ์ที่การใช้แผ่นภาพประกอบคำคล้องจองเพื่อพัฒนาความสามารถทางภาษาด้านการฟังและการพูดกลุ่มมีค่าเฉลี่ย (µ) เท่ากับ 24.73 และความแตกต่างของคะแนนก่อนและหลังการจัดกิจกรรมมีค่าเฉลี่ย (µ) เท่ากับ 11.36
3. ผลการศึกษาด้านความพึงพอใจของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การใช้แผ่นภาพประกอบคำคล้องจองเพื่อพัฒนาความสามารถทางภาษาด้านการฟังและการพูด ปรากฏว่าสัปดาห์ที่ 1 และ 2 นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 มีระดับความพึงพอใจมาก (หน้ายิ้ม) ต่อการจัดกิจกรรม เสริมประสบการณ์ที่ใช้แผ่นภาพประกอบคำคล้องจองเพื่อพัฒนาความสามารถทางภาษาด้านการฟังและการพูดในแผนการจัดประสบการณ์เรียนรู้การใช้แผ่นภาพประกอบคำคล้องจอง เพื่อพัฒนาความสามารถทางภาษาด้านการฟังและการพูด มีจำนวนคนเฉลี่ยระหว่างตั้งแต่ 24 คน ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนด (ร้อยละ 80 เท่ากับ 24 คน) มีจำนวนคนเฉลี่ยที่มีระดับความพึงพอใจมาก (หน้ายิ้ม) 30 คน ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้