การพัฒนาการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมสถานศึกษาปลอดขยะในโรงเรียนเทศบาลบ้านบ่อฝ้าย
(สังฆประชาอุทิศ) สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองหัวหิน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นการปลูกฝังให้ครูและนักเรียนตระหนัก และเห็นความสำคัญในประโยชน์และโทษของขยะและวัสดุเหลือใช้
เป็นการสร้างองค์ความรู้ของคณะครูและนักเรียน การมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน มีการฝึกทักษะและกระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการ สามารถสร้างคนสู่ความเป็นคนที่สมบูรณ์ เป็นคนดี คนเก่ง อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาการดำเนินงานโครงการธนาคารขยะ
เพื่อส่งเสริมสถานศึกษาปลอดขยะ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ประกอบด้วย
4 ขั้นตอน ได้แก่ การวางแผน (Planning) การปฏิบัติ (Action) การสังเกตผล (Observation) และ
การสะท้อนผล (Refection) ผู้ร่วมศึกษาได้แก่ ครูภายในโรงเรียนที่มีความสมัครใจเข้าร่วมศึกษาค้นคว้า จำนวน 5 คน นักเรียนแกนนำ จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสังเกต
แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการประชุม มีปัญหาที่พบในการพัฒนาการดำเนินงานโครงการธนาคารขยะ
เพื่อส่งเสริมสถานศึกษาปลอดขยะ คือ ครูไม่มีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินการ การแก้ไขปัญหาโดยวิธีการดำเนินการโดยใช้กิจกรรมดังนี้ คือ การอบรม การศึกษาเอกสาร การดำเนินการตามโครงการ และการศึกษา
ดูงาน จะต้องมีการปรับปรุงสถานที่สำหรับคัดแยกขยะ จัดตั้งคณะทำงานในการรับผิดชอบโครงการ จากการอบรมให้ความรู้จากวิทยากร การศึกษาเอกสาร การดำเนินการตามโครงการ ในการพัฒนาการดำเนินงานโครงการธนาคารขยะเพื่อส่งเสริมสถานศึกษาปลอดขยะของผู้ร่วมศึกษา ซึ่งมีปัญหาในด้านครู
ยังไม่เข้าใจระบบบัญชีเท่าที่ควร การประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนได้ทราบถึงโครงการยังไม่ทั่วถึง จึงได้ดำเนินการ
ไปศึกษาดูงานโรงเรียนต้นแบบ ให้เจ้าหน้าที่รับผิดชอบสาธิตเรื่องการจัดทำบัญชีเพิ่มเติม และแก้ไขในส่วนของปัญหาที่พบ รวมทั้งข้อเสนอแนะของผู้ร่วมศึกษา
ผลการศึกษาค้นคว้าปรากฏ ดังนี้
หลังจากได้ดำเนินการพัฒนาดำเนินงานโครงการธนาคารขยะเพื่อส่งเสริมสถานศึกษาปลอดขยะ
ตามขั้นตอนของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยการอบรม การศึกษาเอกสาร การดำเนินการตามโครงการ ทำให้
ผู้ร่วมศึกษามีความรู้ความเข้าใจ สามารถพัฒนาการดำเนินงานโครงการดังกล่าวตามขั้นตอนเป็นอย่างดี ปัญหาที่ต้องนำไปปรับปรุงเพิ่มเติมคือ ครูยังไม่เข้าใจระบบบัญชีเท่าที่ควร รวมทั้ง การประชาสัมพันธ์ยังไม่ทั่วถึงชุมชน จึงได้ให้กลุ่มผู้ร่วมศึกษาและผู้ให้ข้อมูลไปศึกษาดูงานโรงเรียนต้นแบบ เพื่อให้มีความรู้เพิ่มเติม
จากการพัฒนาดำเนินงานโครงการธนาคารขยะเพื่อส่งเสริมสถานศึกษาปลอดขยะ ผู้ร่วมศึกษาทุกคน มีส่วนร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมปรับปรุงแก้ไข และร่วมกันพัฒนาแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกัน ส่งผลให้ครู นักเรียน ตระหนักและเห็นความสำคัญ ช่วยสร้างให้เกิดนิสัยการคัดแยกขยะ การอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
สร้างความสมดุลให้เกิดขึ้นในสังคมโลกเป็นการปลูกฝังค่านิยม ด้านการประหยัดและการออมทรัพย์ รักษาความสะอาด บุคลากรทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข พัฒนางานให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของครู นักเรียน และชุมชน อย่างมีประสิทธิภาพต่อเนื่อง และยั่งยืน อีกทั้งหลังจากที่โรงเรียนได้พัฒนาดำเนินงานโครงการธนาคารขยะเพื่อส่งเสริมสถานศึกษาปลอดขยะเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และส่งโครงการดังกล่าวเข้าประกวดโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) ทำให้โรงเรียนได้รับรางวัลชนะเลิศระดับประเทศอีกด้วย