การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ 3 หน่วยที่ 3 เรื่องการตัดต่อวิดีโอด้วยโปรแกรม Ulead Video Studio สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังการใช้บทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ 3 หน่วยที่ 3 เรื่องการตัดต่อวิดีโอด้วยโปรแกรม Ulead Video Studio สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต กับเกณฑ์ร้อยละ 60 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ลงทะเบียนเรียน วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 ที่ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยการจับสลากห้องเรียนจำนวน 1 ห้องเรียน จากทั้งหมด 5 ห้องเรียน ซึ่งเป็นนักเรียนที่คละความสามารถในด้านการเรียน ได้กลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 จำนวน 39 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1) บทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ 3 หน่วยที่ 3 เรื่องการตัดต่อวิดีโอด้วยโปรแกรม Ulead Video Studio สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) แบบประเมินคุณภาพบทเรียนสำหรับผู้เชี่ยวชาญประกอบด้วย แบบประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาและด้านสื่อเทคโนโลยีการศึกษา 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ทดสอบเพื่อทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ t test แบบ Dependent Sample Test และ One Sample Test
ผลการศึกษา พบว่า
1. บทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ 3 หน่วยที่ 3 เรื่องการตัดต่อวิดีโอด้วยโปรแกรม Ulead Video Studio สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ 87.80/86.84 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังการเรียนโดยใช้บทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ 3 หน่วยที่ 3 เรื่อง การตัดต่อวิดีโอด้วยโปรแกรม Ulead Video Studio สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสตูลวิทยา พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้บทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ 3 หน่วยที่ 3 เรื่องการตัดต่อวิดีโอด้วยโปรแกรม Ulead Video Studio สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสตูลวิทยา โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด