บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) สร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านทุ่งศาลา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1 ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านทุ่งศาลา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มโรงเรียนไพรสวรรค์ ภาคเรียนที่ 1ปีการศึกษา 2559 จำนวน 50 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียน บ้านทุ่งศาลา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 1 ห้องเรียน 3 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจง
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ แบบทดสอบท้ายแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือกจำนวน 3 ชุด ชุดละ 10 ข้อ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 16 แผนแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 3 เล่ม รวม 19 แบบฝึก และแบบสอบถาม ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบ ของจำนวนนับ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 15 ข้อ มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ตามวิธีของลิเคิร์ท (Likert) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความเที่ยงตรง ค่าความยาก ค่าอำนาจจำแนก ค่าความเชื่อมั่น ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน-มาตรฐานและค่าดัชนีประสิทธิผล
ผลการศึกษา พบว่า
1. แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 77.78/78.89 สูงกว่าเกณฑ์ 75/75
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านทุ่งศาลา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน คะแนนเฉลี่ยพัฒนาการความก้าวหน้า คิดเป็นร้อยละ 44.44
3. ค่าดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของ จำนวนนับ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เท่ากับ 0.6200 หรือคิดเป็นร้อยละ 62.00
4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านทุ่งศาลา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1 ที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( =4.02, S.D. = 0.79)