บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) โครงการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของโรงเรียนบ้านห้วยเล็บมือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ 2) เพื่อประเมินปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) โครงการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของโรงเรียนบ้านห้วยเล็บมือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ 3) เพื่อประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) โครงการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของโรงเรียนบ้านห้วยเล็บมือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ 4) เพื่อประเมินผลผลิต (Product Evaluation) โครงการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของโรงเรียนบ้านห้วยเล็บมือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ของ สตัฟเฟิลบีม และคนอื่นๆ (Stufflebeam,et al, 1971 : 128)
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา สภานักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนบ้านห้วยเล็บมือ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ปีการศึกษา 2559 จำนวน 69 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 40 ข้อ ได้ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.742 0.906 ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.990 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล และนำเสนอข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินพบว่า
1. การประเมินโครงการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของโรงเรียนบ้านห้วยเล็บมือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ตามความคิดเห็นของ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สภานักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครองนักเรียนโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก
2. การประเมินโครงการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของโรงเรียนบ้านห้วยเล็บมือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ตามความคิดเห็นของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สภานักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน รายด้าน ดังนี้
2.1. การประเมินด้านสภาวะแวดล้อม ตามความคิดเห็นของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สภานักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน พบว่าอยู่ในระดับมาก
2.2. การประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น ตามความคิดเห็นของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สภานักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียนพบว่าอยู่ในระดับมาก
2.3. การประเมินด้านกระบวนการ ตามความคิดเห็นของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สภานักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียนพบว่าอยู่ในระดับมาก
2.4. การประเมินด้านผลผลิต ตามความคิดเห็นของข้าราชการครูและบุคลากร ทางการศึกษา สภานักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียนพบว่าอยู่ในระดับมาก