การวิจัยครั้งนี้เป็นการดำเนินการเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อนำไปสู่การพัฒนา การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 6 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ 3WE เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง มนุษย์กับความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม
3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ 3WE เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา
อย่างสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง มนุษย์กับความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม
และ 4) เพื่อประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 3WE เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6เรื่อง มนุษย์กับความยั่งยืน
ของสิ่งแวดล้อม กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน
30 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ด้วยวิธีจับสลากโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องมนุษย์กับความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม จำนวน 1 หน่วย 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน (Pretest Posttest) เรื่อง มนุษย์กับความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม จำนวน 1 ฉบับ เป็นแบบทดสอบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 3) แบบทดสอบความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และ 4) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 3WE เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง มนุษย์กับความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม จำนวน 1 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติค่าเฉลี่ย( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t - test dependent)
สรุปผลการวิจัย
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ 3WE เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง มนุษย์กับความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม
มีผลการวิจัยดังนี้
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน พบว่า ครูผู้สอนชีววิทยามีปัญหาและความต้องการให้มี
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์คือต้องการให้การจัดการเรียนรู้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ความสำคัญกับผู้เรียน กิจกรรมการเรียนรู้ให้กำหนดเนื้อหาจากปัญหา และสรุปความรู้จากการสำรวจปัญหา และพบว่าแนวทางการพัฒนานั้นควรใช้แนวคิดการจัดการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและควรใช้แนวคิดเกี่ยวกับการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์มาเป็นแนวทางในการวางแผนการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนฝึกคิดฝึกแก้ปัญหาอย่างรวดเร็วและเหมาะสม
2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 พบว่า ได้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ที่ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนหลักและ 6 องค์ประกอบย่อย คือ 1) ขั้นสร้างความพร้อม (Warm up) 2) ขั้นดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ (Working) จัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาตามกระบวนการย่อย 6 ขั้นตอน ดังนี้ 2.1 การกำหนดปัญหา 2.2 การหาสาเหตุของปัญหา 2.3 การเสนอแนวทางการแก้ปัญหา 2.4 การเลือกวิธีการแก้ปัญหา 2.5 การดำเนินการแก้ปัญหา 2.6 การสรุปผลการแก้ปัญหา 3) ขั้นสรุปผลงานแบ่งปันความรู้ (Warm down) และ 4) ขั้นประเมินผล (Evaluation)
ผลการตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ผลการหาประสิทธิภาพแบบรายบุคคล (Individual Tryout) เท่ากับ 55.00/51.11 ผลการหาประสิทธิภาพแบบกลุ่มเล็ก (Small Group Tryout) เท่ากับ 71.11/71.48 ผลการหาประสิทธิภาพแบบภาคสนาม (Field Tryout) เท่ากับ 82.06 /80.89 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือ 80/80 สอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 1 ที่กำหนดไว้
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ 3WE เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6เรื่อง มนุษย์กับความยั่งยืน
ของสิ่งแวดล้อม พบว่านักเรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่าง ๆ เป็นอย่างดี กล้าแสดงความคิดเห็นรับฟังความคิดเห็นของเพื่อนสมาชิกร่วมกลุ่มและโต้แย้งเพื่อให้เกิดคุณภาพงาน สามารถทำกิจกรรมระหว่างเรียนได้สำเร็จตามที่มอบหมายและทันตามกำหนดเวลา มีพฤติกรรมด้านความรับผิดชอบอยู่ในระดับสูงและมีความร่วมมือภายในกลุ่มในระดับสูง สามารถเรียนรู้ตามขั้นตอนของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี
4. ผลการประเมินและปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 3WE เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6เรื่อง มนุษย์กับความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมพบว่ามีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.11/81.00 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ถือว่าเป็นรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนรู้
ด้วยรูปแบบการเรียนรู้และหลังการเรียนรู้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และนักเรียนมีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ก่อนเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนรู้และหลังการเรียนรู้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักเรียนคะแนนความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และเมื่อนำไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้พบว่าในภาพรวมนักเรียนมีความสามารถในระดับสูง และความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 3WE เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง มนุษย์กับความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมในภาพรวมอยู่ในระดับมากซึ่งแปลความหมายได้ว่านักเรียนมีความพึงพอใจมากต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 3WE เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง มนุษย์กับความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม