บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนา ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง มหัศจรรย์แห่งน้ำและอากาศ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ชื่อผู้ศึกษา เอมอร ชุมพล
ครู วิทยฐานะชำนาญการ โรงเรียนบ้านดอนทราย
อำเภอจุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3
ปีที่รายงาน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559
รายงานการพัฒนา ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง มหัศจรรย์แห่งน้ำและอากาศ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง มหัศจรรย์แห่งน้ำและอากาศ กลุ่มสาระ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ตามเกณฑ์ 80/80
(2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องน้ำและอากาศ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง มหัศจรรย์แห่งน้ำและอากาศ
ประชากร เป็นนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนบ้านอายเลา โรงเรียนวัดสมควร โรงเรียนวัดสุวรรณโฆษิต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนบ้านดอนทราย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 จำนวน 5 คน โดยการเลือกแบบจำเพาะเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือ ที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง มหัศจรรย์แห่งน้ำและอากาศ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 6 ชุด แผนการจัดการเรียนรู้ ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง มหัศจรรย์แห่งน้ำและอากาศ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถาม วัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อ ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง มหัศจรรย์แห่งน้ำและอากาศ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้ศึกษาเป็นผู้สอนด้วยตนเองดำเนินการทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 ใช้เวลาจำนวน 30 ชั่วโมง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วยสถิติพื้นฐาน โดยการหาค่าเฉลี่ย (x̄) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สถิติที่ใช้ในการตรวจสอบเครื่องมือได้แก่ การหาค่าความเที่ยงตรงของเครื่องมือ โดยการคำนวณค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) หาค่าความยากง่าย (P) ค่าอำนาจจำแนก (r) และค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ ค่าประสิทธิภาพของชุดกิจกรรม โดยการหาค่า และ และสถิติที่ใช้ตรวจสอบสมมติฐานโดยเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน และหลังเรียนของนักเรียน ด้วยการทดสอบที (t-Test)
ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลการพัฒนา ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง มหัศจรรย์แห่งน้ำและอากาศ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 6 ชุด มีประสิทธิภาพ แบบ 1 : 1 เท่ากับ 80.00/81.11 แบบ 1 : 10 เท่ากับ 81.80/82.33 และ แบบ 1 : 100 เท่ากับ 83.00/83.22 มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80
2. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนโดยใช้ ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
เรื่อง มหัศจรรย์แห่งน้ำและอากาศ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สูงกว่าก่อนเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อ ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง มหัศจรรย์แห่งน้ำและอากาศ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด
โดยสรุปแล้วชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง มหัศจรรย์แห่งน้ำและอากาศ วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้ประกอบกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้นและมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์