ชื่อเรื่อง รายงานผลการประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน
โรงเรียนบ้านก็วล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3
ผู้รายงาน นายปรีชา เกตุชาติ ผู้อำนวยการชำนาญการ โรงเรียนบ้านก็วล
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
รายงานผลการประเมินโครงการส่งเสริมรักการอ่าน โรงเรียนบ้านก็วล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 ปีการศึกษา 2559 มีวัตถุประสงค์เพื่อ ประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โรงเรียนบ้านก็วล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 ด้านต่างๆ ดังนี้ 1) เพื่อประเมินด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม (Context) ของโครงการ 2) เพื่อประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ของโครงการ 3) เพื่อประเมินด้านกระบวนการ (Process) ของโครงการ และ 4) เพื่อประเมินด้านผลผลิต (Product) ของโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โรงเรียนบ้านก็วล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 โดยใช้รูปแบบจำลองซิป (CIPP Model) เป็นแนวทางในการประเมินผล ประชากรที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ จำนวนทั้งสิ้น 247 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน การประเมินโครงการได้มาโดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 131 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 1 คน ครูผู้สอน จำนวน 9 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน นักเรียน จำนวน 56 คน ผู้ปกครอง จำนวน 56 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม จำนวน 8 ฉบับ และแบบสรุปบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 1 ฉบับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินปรากฏดังนี้
1. ด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม (Context) ของโครงการ มีความสอดคล้องและเหมาะสม ในระดับมากที่สุด ( = 4.67, S.D. = 0.52) ประเด็นที่มากที่สุด คือ การกำหนดเป้าหมายของโครงการสอดคล้องกับปัญหาและวัตถุประสงค์ของโครงการ รองลงมาคือ การกำหนดเป้าหมายของโครงการมีความเป็นไปได้ และสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนและการส่งเสริมการดำเนินงานโครงการมีความเหมาะสมเพียงพอ
2. ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ของโครงการ มีความพร้อมในระดับมากที่สุด ( = 4.63, S.D. = 0.59) ทั้งด้านบุคลากร ด้านอาคารสถาน และด้านวัสดุอุปกรณ์อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านงบประมาณ อยู่ในระดับมาก ประเด็นที่มีความพร้อมมากที่สุด คือ ห้องสมุดมีบรรยากาศที่ดี สะอาด มีมุมหนังสือและมีระบบการจัดเก็บหนังสือเป็นหมวดหมู่เอื้อต่อการศึกษาค้นคว้า รองลงมาคือ บุคลากรที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนโยบาย เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการดำเนินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน และประเด็นที่พร้อมน้อยที่สุด คือ งบประมาณในการจัดซื้อหนังสือที่ใช้ในการจัดกิจกรรมมีความเพียงพอและเหมาะสม
3. ด้านกระบวนการ (Process) ของโครงการ มีการดำเนินการอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.68, S.D. = 0.52) ทั้งด้านการวางแผน (Plan : P) ด้านการปฏิบัติ (Do : D) ด้านการตรวจสอบหรือประเมินผล (Check : C) และด้านการนำผลการประเมินไปใช้ (Action : A)
4. ด้านผลผลิต (Product) ของโครงการ
4.1 กิจกรรมของโครงการทั้ง 5 กิจกรรมมีความสำเร็จอยู่ในระดับมากที่สุดทุกกิจกรรมได้แก่ กิจกรรมวางทุกงานอ่านทุกคน กิจกรรมวันสำคัญ กิจกรรมภาษาวันละคำ กิจกรรมห้องสมุดเคลื่อนที่ และกิจกรรมแนะนำหนังสือสื่อการอ่าน
4.2 นักเรียนมีนิสัยรักการอ่านอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.74, S.D. = 0.50) โดยที่มีมากที่สุด คือ อ่านข้อมูลข่าวสาร รองลงมาคือ สนใจการอ่าน และที่มีน้อยที่สุด คือ อ่านทบทวนเนื้อหาบทเรียน
4.3 นักเรียนมีพฤติกรรมในการเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.58, S.D. = 0.61) โดยพฤติกรรมที่มีมากที่สุด คือ นักเรียนสนใจค้นคว้าความรู้จากหนังสือในห้องสมุดเพิ่มเติม รองลงมาคือ นักเรียนสืบค้นสาระความรู้เพิ่มเติมเพื่อให้เกิดความรู้ยิ่งขึ้น และที่มีน้อยที่สุด คือ จดบันทึกข้อความที่สนใจ
4.4 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน โรงเรียนบ้านก็วล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 ปีการศึกษา 2559 อยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.59, S.D. = 0.64) ประเด็นที่พึงพอใจมากที่สุด คือ นักเรียนได้รับการส่งเสริมให้มีนิสัยรักการอ่านทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียนอย่างสม่ำเสมอ รองลงมาคือ หลังจากเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านแล้วนักเรียนได้เห็นความสำคัญของการอ่านหนังสือ และประเด็นที่ พึงพอใจน้อยที่สุด คือ นักเรียนมีการนำความรู้ที่ได้รับจากการอ่านไปพัฒนาด้านสติปัญญา ความรู้ ความสามารถและพฤติกรรมต่างๆ อยู่เป็นประจำ
4.5 ครู และผู้ปกครองมีความพึงพอใจต่อโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน โรงเรียนบ้านก็วล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 ปีการศึกษา 2559 อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.68, S.D. = 0.56) ประเด็นที่พึงพอใจมากที่สุด คือ นักเรียนได้รับความรู้จากกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านในโรงเรียนที่จัดขึ้น รองลงมาคือ นักเรียนรู้วิธีการแสวงหาความรู้จากแหล่งต่างๆ เช่น ห้องสมุด ห้องสืบค้นข้อมูล สื่ออื่นๆ ที่มีทั้งในและนอกโรงเรียน ส่วนที่พึงพอใจ น้อยที่สุด คือ ปริมาณของกิจกรรมโครงการเหมาะสมไม่มากเกินไปและไม่น้อยเกินไป
4.6 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนเปรียบเทียบระหว่างปีการศึกษา 2558 และ ปีการศึกษา 2559 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ในระดับโรงเรียนเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 4.00 ผลการทดสอบระดับชาติ O-NET เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 7.50 ผลการทดสอบข้อสอบกลางเพิ่มขึ้น คิดเป็น ร้อยละ 0.84 และผลการทดสอบการอ่านออก เขียนได้ เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 0.27