จากประสบการณ์ของผู้ศึกษาค้นคว้าในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนกลุ่มสาระ การเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านท่าแซะ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2 ปีการศึกษา 2558 ผลการประเมิน เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ พบว่านักเรียนไม่ผ่านเกณฑ์ ที่กำหนดไว้ ร้อยละ 70 การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3 ตามวัฏจักรการเรียนรู้แบบ 4 MAT ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 2) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3 โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ตามวัฏจักรการเรียนรู้แบบ 4 MAT
3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ตามวัฏจักรการเรียนรู้แบบ 4 MAT 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการสอน
เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ตามวัฏจักรการเรียนรู้แบบ 4 MAT กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านท่าแซะ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 29 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ได้แก่ 1) แบบฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ตามวัฏจักรการเรียนรู้แบบ 4 MAT ที่ผู้ศึกษาค้นคว้าสร้างขึ้น จำนวน 5 ชุด
2) แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ประกอบการใช้แบบฝึกเสริมทักษะ
การเรียนรู้ตามวัฏจักรการเรียนรู้แบบ 4 MAT เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 22 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 1 ฉบับ จำนวน 30 ข้อ และแบบทดสอบวัดความสามารถฉบับที่ 1-5 เป็นแบบปรนัย จำนวน 5 ฉบับ ฉบับละ 10 ข้อ 4) แบบสอบถามวัดความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อ
การสอนเรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ตามวัฏจักร การเรียนรู้แบบ 4 MAT 5) แบบสังเกตพฤติกรรมทางการเรียนของนักเรียน จำนวน 22 ชุด สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุติฐาน โดยใช้การทดสอบของวิลค็อกซัน (Wilcoxon Matched Pairs Singed - Ranks Test)
สรุปผลการศึกษาค้นคว้า
1. แบบฝึกเสริมทักษะการเรียนรู้ตามวัฏจักรการเรียนรู้แบบ 4 MAT
เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 3 ตามเกณฑ์ความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการ (E1) และผลลัพธ์ (E2) เท่ากับ 82.63/75.28 สูงกว่าเกณฑ์ 70/70 ที่ตั้งไว้
2. ดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3 โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการเรียนรู้ตามวัฏจักรการเรียนรู้แบบ 4 MAT มีค่าเท่ากับ 0.5146 หรือคิดเป็นร้อยละ 51.46
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการเรียนรู้ ตามวัฏจักรการเรียนรู้แบบ 4 MAT กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมุติฐาน ของการศึกษาค้นคว้า
4. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีความพึงพอใจต่อการสอนเรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการเรียนรู้ตามวัฏจักรการเรียนรู้แบบ 4 MAT อยู่ในระดับมาก ( = 4.39, S.D. = .11)