ชื่อเรื่อง การพัฒนาชุดกิจกรรมเสริมทักษะเรียนรู้เพลงกล่อมเด็กเกาะพะงันคาราโอเกะภาษาอาเซียนของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนชุมชนบ้านใต้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ผู้รายงาน นางเจษฎา ศรีแก้ว
ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมเสริมทักษะเรียนรู้เพลงกล่อมเด็กเกาะพะงันคาราโอเกะภาษาอาเซียนตามเกณฑ์มาตรฐาน 75/75 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมเสริมทักษะเรียนรู้เพลงกล่อมเด็กเกาะพะงันคาราโอเกะภาษาอาเซียน และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมเสริมทักษะเรียนรู้เพลงกล่อมเด็กเกาะพะงันคาราโอเกะภาษาอาเซียนที่สร้างขึ้น โดยการทดลองกับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนชุมชนบ้านใต้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 23 คน มีเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แผ่นซีดีชุดกิจกรรม 3 ชุด (ชุดกิจกรรมเสริมทักษะเรียนรู้เพลงกล่อมเด็กเกาะพะงันคาราโอเกะภาษาพม่า ชุดกิจกรรมเสริมทักษะเรียนรู้เพลงกล่อมเด็กเกาะพะงันคาราโอเกะภาษาจีน และชุดกิจกรรมเสริมทักษะเรียนรู้เพลงกล่อมเด็กเกาะพะงันคาราโอเกะภาษามาเลย์) คู่มือการใช้ชุดกิจกรรมเสริมทักษะ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน และแบบสอบถามวัดความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความสอดคล้อง หาค่าความยากง่าย ค่าอำนาจจำแนก
ค่าความเชื่อมั่น ค่า E1 ค่า E2 ค่าดัชนีประสิทธิผล และค่าสถิติที (t-test) แบบ Dependent Sample (กรณีข้อมูลไม่อิสระต่อกัน)ผลการศึกษาพบว่า
ชุดกิจกรรมเสริมทักษะเรียนรู้เพลงกล่อมเด็กเกาะพะงันคาราโอเกะภาษาอาเซียนนำไปทดลองแบบกลุ่มใหญ่ได้ค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 79.00/79.83 และทดลองกับนักเรียนประถมศึกษา
ปีที่ 4 โรงเรียนชุมชนบ้านใต้ได้ค่าประสิทธิภาพเท่ากับ79.42/79.78 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
คือ 75/75 และมีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.51 ซึ่งแสดงว่าหลังจากที่นักเรียนได้เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมเสริมทักษะเรียนรู้เพลงกล่อมเด็กเกาะพะงันคาราโอเกะภาษาอาเซียนที่สร้างขึ้น นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนคิดเป็นร้อยละ 51 เมื่อพิจารณาการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมเสริมทักษะเรียนรู้เพลงกล่อมเด็กเกาะพะงัน
คาราโอเกะภาษาอาเซียนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมเสริมทักษะเรียนรู้เพลงกล่อมเด็กเกาะพะงันคาราโอเกะภาษาอาเซียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน มีความพึงพอใจในระดับมากทุกด้าน
เรียงตามลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อยตามลำดับคือ ด้านเนื้อหา ด้านกระบวนการเรียนรู้ และด้านสื่อ อุปกรณ์การเรียนรู้ และการวัดประเมินผล ส่วนผลการปรับปรุงและแก้ไขเรื่องระยะเวลาของแผนการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมในแต่ละชุดกิจรรมเสริมทักษะมากยิ่งขึ้น