คำสำคัญ : การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน/ความสามารถการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ
ชื่อเรื่อง : การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนชีววิทยาเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา
อย่างมีวิจารณญาณและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ผู้วิจัย : นางกุลศิริ บุญอาษา
ตำแหน่ง : ครู
สถานที่ทำการวิจัย : โรงเรียนบัวขาว อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
ปีรายงานการวิจัย : ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนชีววิทยาเพื่อส่งเสริมความสามารถการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2. เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนชีววิทยาเพื่อส่งเสริมความสามารถการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3. เพื่อเปรียบความสามารถการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนเรียนและหลังเรียน ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนชีววิทยาเพื่อส่งเสริมความสามารถการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 4. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อรูปแบบ การเรียนการสอนชีววิทยาเพื่อส่งเสริมความสามารถการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 การวิจัย ครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยกำหนดรูปแบบการทดลองแบบหนึ่งกลุ่มทดสอบก่อนเรียนและ หลังเรียน (OneGroup Pretest Posttest Design) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/4 โรงเรียนบัวขาว จำนวน 46 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย รูปแบบการเรียนการสอนชีววิทยาเพื่อส่งเสริมความสามารถการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินความสอดคล้องของรูปแบบการเรียนการสอน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบวัดความสามารถ การคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ และแบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการเรียนกาสอนที่พัฒนาขึ้นนี้มีชื่อว่า RARCA Model โดยมีองค์ประกอบ ดังนี้ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กระบวนการเรียนการสอน รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น มีกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นทบทวนความรู้เดิม (Review : R ) เป็นขั้นที่ผู้สอนตั้งกระตุ้น ให้ผู้เรียนได้แสดงออกถึงความเข้าใจเดิมที่มีอยู่เกี่ยวกับเรื่องที่จะเรียนโดยการใช้เทคนิคที่หลากหลาย เช่น ระดมสมอง อภิปรายกลุ่ม หรือใช้สถานการณ์จำลอง 2) ขั้นวิเคราะห์ปัญหา (Analysis : A ) เป็นขั้นที่สำคัญของการจัดการเรียนรู้ประกอบด้วยขั้นตอนย่อย 4 ขั้น คือ 2.1) ขั้นระบุปัญหา หมายถึงความสามารถในการบอกปัญหาที่สำคัญที่สุดภายในขอบเขตขอข้อเท็จจริงจากสถานการณ์ที่กำหนดให้ 2.2) ขั้นวิเคราะห์ปัญหา หมายถึง ความสามารถในการบอกสาเหตุที่เป็นไปได้ของปัญหาจากข้อเท็จจริงตามสถานการณ์ 2.3) ขั้นเสนอวิธีการคิดแก้ปัญหา หมายถึง ความสามารถในการหาวิธีการคิดแก้ปัญหาให้ตรงกับสาเหตุของปัญหา 2.4 ) ขั้นตรวจสอบผลลัพธ์ หมายถึง ความสามารถอธิบายผลที่เกิดขึ้น หลักจากการใช้วิธีการคิดแก้ปัญหาในข้อ 2.3 ได้ว่า ผลที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร 3) ขั้นสะท้อนความคิด (Reflection : R) คือ การอธิบายสิ่งที่ตนเองคิด จากการปฏิบัติ หรือจากการได้สังเกต และฟังเพื่อนพูด สิ่งที่จำได้จากกระบวนการคิด ความรู้สึก ภาพจินตนาการ เจตคติ ทักษะ ความคิดที่เกิดขึ้นได้จากการเรียนรู้อะไรบ้าง 4) ขั้นสรุป (Conclusion : C ) เป็นขั้นที่ผู้เรียนสรุปผลจากการเรียนรู้ที่ได้จากการศึกษาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันมาสรุป เป็นผังความคิด หรือโครงงาน โครงการ เขียนตอบ บรรยาย เขียนรายงาน 5) ขั้นประยุกต์ใช้ความรู้ (Application : A ) เป็นขั้นนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
2.ประสิทธิภาพ (E1/E2) ของ รูปแบบการเรียนการสอนชีววิทยาเพื่อส่งเสริมความสามารถการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เท่ากับ 88.00 /84.42 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ 80 / 80 ปรากฏว่ามีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
3. ความสามารถการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนชีววิทยาเพื่อส่งเสริมความสามารถการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยความสามารถการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนชีววิทยาเพื่อส่งเสริมความสามารถการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด