ชื่อเรื่อง การพัฒนาชุดกิจกรรมฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญวิชาภาษาไทย
โดยใช้วิธีการเรียนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
ผู้วิจัย นางนิชาภา จันทร์เพ็ญ
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะชำนาญการ
สถานศึกษา โรงเรียนจอมพระประชาสรรค์ อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๓
ปีการศึกษา ๒๕๕๙
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ
วิชาภาษาไทย โดยใช้วิธีการเรียนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐เพื่อศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลการเรียนรายวิชาภาษาไทย
จากการจัดการเรียนด้วยชุดกิจกรรมฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญวิชาภาษาไทย โดยใช้วิธีการเรียนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนหลังเรียนจากการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญวิชาภาษาไทย โดยใช้วิธีการเรียนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ ๗๕และเพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนด้วยชุดกิจกรรมฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญวิชาภาษาไทย โดยใช้วิธีการเรียนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๙ โรงเรียนจอมพระประชาสรรค์ อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๓จำนวน ๓๓ คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) รูปแบบการทดลองใช้ One Group Pre test Post test Design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ชุดกิจกรรมฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญวิชาภาษาไทย โดยใช้วิธีการเรียนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD จำนวน ๗ ชุด ใช้เวลาเรียน ๑๔ ชั่วโมง แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญเป็นแบบทดสอบปรนัยแบบเลือกตอบ ๔ ตัวเลือก จำนวน ๔๐ ข้อ มีค่าความยากตั้งแต่ 0.40 0.79 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ ๐.๒๓ ๐.๔๙ และค่าความเชื่อมั่น ๐.๗๙และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ที่มีต่อชุดกิจกรรมฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญวิชาภาษาไทย โดยใช้วิธีการเรียนแบบร่วมมือ เทคนิค STADเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า ๕ ระดับ จำนวน ๑๕ ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานโดยใช้ค่าสถิติ t - test แบบ Dependent Samples
ผลการศึกษา พบว่า
๑. ชุดกิจกรรมฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญวิชาภาษาไทย โดยใช้วิธีการเรียนแบบร่วมมือ เทคนิค STADมีประสิทธิภาพ ๘๕.๔๔ / ๘๒.๙๒ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ๘๐/ ๘๐
๒. ดัชนีประสิทธิผลการเรียนรู้ภาษาไทยด้านการอ่านจับใจความสำคัญ จากการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญวิชาภาษาไทย โดยใช้วิธีการเรียนแบบร่วมมือ เทคนิค STADเท่ากับ ๐.๗๖๗๔ แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนคิดเป็นร้อยละ ๗๖.๗๔
๓. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาไทย ด้านการการอ่านจับใจความสำคัญหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญวิชาภาษาไทย โดยใช้วิธีการเรียนแบบร่วมมือ เทคนิค STADสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ ๗๕ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑
๔. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอน ด้วยชุดกิจกรรมฝึกทักษะการการคิดวิเคราะห์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
โดยสรุปการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญวิชาภาษาไทย โดยใช้วิธีการเรียนแบบร่วมมือ เทคนิค STADมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ช่วยให้นักเรียนมีความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญ และสามารถนำความรู้ไปใช้เป็นแนวทางในการคิดวิเคราะห์เรื่องราวต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี