ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ สระที่มีตัวสะกด
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ผู้ศึกษา นางนะรุ้ง สุวรรณไตร
ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ สระที่มีตัวสะกด
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อ
1) พัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ สระที่มีตัวสะกด กลุ่มสาระ
การเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) หาค่าดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ สระที่มีตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียน โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ สระที่มีตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านท่าศรีชมชื่น อำเภอพรเจริญ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 14 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษามี 4 ชนิด ได้แก่ 1) แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ สระที่มีตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 2) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การอ่านและการเขียนสะกดคำ สระที่มีตัวสะกด จำนวน 9 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.24 ถึง 0.82 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 และ 4) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ ด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ สระที่มีตัวสะกด
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก ตั้งแต่ 0.21 ถึง 0.78 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า
1. แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ สระที่มีตัวสะกด กลุ่มสาระ
การเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.76/82.38
2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียน
สะกดคำ สระที่มีตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเท่ากับ 0.7186 แสดงว่า นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นจากก่อนเรียน 0.7186 หรือคิดเป็นร้อยละ 71.86
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ สระที่มีตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.57 ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุด
โดยสรุป การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียน
สะกดคำ สระที่มีตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
มีประสิทธิภาพ ช่วยพัฒนาการเรียนรู้ สามารถนำไปใช้เป็นความรู้พื้นฐานในการเรียนรู้ในระดับสูงขึ้นไป เพื่อช่วยพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุวัตถุประสงค์การเรียนต่อไปได้