การประกวด สื่อ นวัตกรรม
ของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
รายงานสื่อนวัตกรรมทางการศึกษา
1. ชื่อ สื่อ นวัตกรรม เกมบันไดงูช่วยคิด
2. นวัตกรรมด้านการจัดการเรียนการสอน
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
โรงเรียนเทศบาลบ้านแมด เทศบาลเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม
3. ชื่อ-สกุล ผู้สร้าง/พัฒนานวัตกรรม
นางธีรารัตน์ โพธิราช
โรงเรียนเทศบาลบ้านแมด
ที่อยู่ 26 ตำบลตลาด อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม โทรศัพท์ 043-706528 โทรศัพท์มือถือ 0901931081
4. ที่มาของปัญหา ความต้องการ (สภาพปัญหาของโรงเรียน และคิดหาวิธีการแก้ปัญหา/นวัตกรรมที่เป็นเรื่องใหม่ ๆ หรือประยุกต์จากที่มีอยู่)
การคูณ เป็นทักษะที่สำคัญเพราะเป็นทักษะทางคณิตศาสตร์ที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวัน และ มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ในการเรียนคณิตศาสตร์ชั้นสูง รวมทั้งเป็นทักษะที่สัมพันธ์กับการบวก การลบ และการหาร ทักษะการคูณต้องอาศัยทักษะการบวกเป็นพื้นฐาน ส่วนการลบและการหารต้องอาศัยการบวกและการคูณ ดังนั้นถ้านักเรียนมีทักษะการคูณที่ดีจะทำให้มีทักษะอื่น ๆ ตามไปด้วย เมื่อไปศึกษารายละเอียดของผลสมฤทธิ์ทางการเรียนแล้วพบว่า นักเรียนมีปัญหาเรื่องการคูณมากที่สุด เพราะในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนนั้น เป็นเรื่องยากที่ทั้งครูผู้สอนและนักเรียน ครูผู้สอนต้องใช้สื่อรูปธรรมมาช่วยสอนมาก จึงช่วยให้ผู้เรียนเกิดมโนคติและทักษะการคูณ เป็นการสอนให้นักเรียนเกิดแนวคิดและสอนวิธีทำโดยการนำวิธีทำไปสัมพันธ์กับแนวคิดเป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่กระทำยาก ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการคูณของนักเรียนอยู่ในระดับต่ำ นอกจากนี้สาเหตุที่ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร อาจเนื่องมาจากสาเหตุหลายประการ คือปัญหาจากตัวนักเรียน เช่น นักเรียนขาดความรู้พื้นฐานที่ดีจากการเรียนในระดับขั้นต้น นักเรียนขาดความรับผิดชอบ ขาดความสนใจ มีเจตคติที่ไม่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ โดยคิดว่า วิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ยากที่สุด เนื้อหาบางเรื่องนักเรียนไม่ได้นำไปใช้ในชีวิตประจำวัน นักเรียนส่วนใหญ่มีงานทางบ้านที่ต้องรับผิดชอบ ไม่มีเวลาทบทวนเนื้อหา หรือทำการบ้าน จึงทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยแล้วอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่น่าพอใจ
จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ผู้จัดทำในฐานะครูผู้สอน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จึงมีความสนใจที่จะพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนโดยการปรับปรุงนวัตกรรม
ที่มีอยู่เดิมโดยใช้เกมบันไดงูช่วยคิดมาการพัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบโยนิโสมนสิการ ประกอบแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องการคูณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เพื่อให้นักเรียนเกิดความสนใจ ความสนุกสนานเพลิดเพลิน ฝึกทักษะต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดการเรียนรู้ได้ดีและจดจำได้ยาวนานดึงดูดความสนใจให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ แก้ปัญหาได้ เป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ใช้ความคิดของตนเองอย่างเต็มที่ ทั้งยังส่งเสริมการทำงานร่วมกัน เปิดโอกาสให้ครูได้ศึกษาพฤติกรรมของนักเรียนอย่างแท้จริง และใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
5. แนวคิด หรือทฤษฎี (หลักการหรือแนวคิดที่สามารถอ้างอิงได้ ที่นำมาใช้ในการพัฒนานวัตกรรม)
เกม เป็นวิธีการวิธีหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ในการสอนได้ดี โดยผู้สอนสร้างสถานการณ์สมมุติขึ้นให้ผู้เรียนเล่นด้วยตัวเองภายใต้ข้อตกลงหรือกติกาที่กำหนดขึ้น ผู้เรียนจะต้องตัดสินใจทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ในอันที่จะให้มีผลออกมาในการรู้แพ้-ชนะ ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนได้วิเคราะห์ความรู้สึกนึกคิดและพฤติกรรมต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจและยังช่วยให้ผู้เรียนเกิดความสนุกสนานในการเรียน (ทิศนา แขมมณี, 2522: 201)
6. วัตถุประสงค์
1. เพื่อสร้างและการพัฒนาเกมบันไดงูช่วยคิดประกอบแผนการจัดการเรียนรู้แบบโยนิโสมนสิการและแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องการคูณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้เกมบันไดงูช่วยคิดประกอบแผนการจัดการเรียนรู้ แบบโยนิโสมนสิการและแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องการคูณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
7. กลุ่มเป้าหมายที่จะได้รับประโยชน์
กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนเทศบาลบ้านแมด สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองมหาสารคาม จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 4 คน
8. วิธีดำเนินการ/ขั้นตอนการพัฒนานวัตกรรม
ขั้นตอนการจัดทำสื่อ
วัสดุอุปกรณ์
1. กระดาษ A3, A4
2. กระดาษลัง
3. กระดาษห่อของขวัญ
4. กล่องกระดาษ A4
5. ฟิวเจอร์บอร์ด
6. พลาสติกใสเคลือบ
7. ฝาขาวน้ำพลาสติกเหลือใช้
8. กาว
9. กรรไกร
10. คัตเตอร์
11. ปืนกาว/แท่งกาว
12. ไม้บรรทัด
13. คอมพิวเตอร์
14. เครื่องปริ้น
ขั้นตอนการทำ
1. ออกแบบชิ้นงานโดยใช้โปรแกรม Microsoft word สร้างตารางเกมบันไดงู
2. ตกแต่งให้สวยงาม จากสูตรคูณแม่ 2ถึงสูตรคูณแม่12
4. การนำสื่อไปใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอน
5. ผลการใช้สื่อ
3. ปริ้นด้วยกระดาษ A 3 ตัดขอบรองด้วยฟิวเจอร์บอร์ด
3. ออกแบบทำลูกเต๋าตัวทอย และตัวเดิน โปรแกรม Microsoft word
4. ปริ้นใส่กระดาษ A4 ตัดและประกอบเป็นลูกเต๋า
5. การทำตัวเดิน ออกแบบตัวเดินเป็นรูปวงกลมด้วยโปรแกรม Microsoft word ตัดและติดใส่ฝาขวดน้ำพลาสติกเหลือใช้
6. การทำเฉลย ออกแบบด้วยโปรแกรม Microsoft word ตัดแล้วเคลือบแผ่นพลาสติกใส
7. การทำกล่องเก็บอุปกรณ์ นำกล่องกระดาษ A4 มาตัดต่อกันติดด้วยกระดาษลังแล้วห่อด้วยกระดาษห่อของขวัญให้สวยงาม
.
วิธีการเล่นเกมบันไดงูช่วยคิด
1 . ให้ผู้เล่นจับกลุ่มกัน โดยในแต่ละรอบ จะสามารถเล่นได้ 2-4 คน ให้ตั้งกรรมการในการเล่น
1 คน โดยไม่นับรวมกับผู้เล่น (กรรมการจะเป็นผู้เฉลยคำตอบในการคูณโดยดูจากบัตรเฉลย)
การเล่นแบ่งเป็น 2 ระดับ
- ระดับที่ 1 ลูกเต๋าตัวคูณ 1-6 เดินช่องตัวเลข 1-50
- ระดับที่ 2 ลูกเต๋าตัวคูณ 7-12 เดินช่องตัวเลข 51-100
2 . ให้ผู้เล่นแต่ละคนเลือกตัวเดินคนละ 1 ตัว
3 . ให้ผู้เล่นแต่ละคนทอยลูกเต๋า คนละ 1 ครั้ง คนที่ทอยลูกเต๋าได้แต้มสูงสุดจะเป็นผู้เลือกกระดานเกมบันไดงูสูตรคูณ และได้เล่นก่อน ตามลำดับ
4 . ให้ผู้เล่นคนแรกทอยลูกเต๋าตัวคูณระดับที่ 1(ตัวคูณ 1-6) แล้วท่องสูตรคูณตามจำนวนที่ทอยได้ และตอบภายในเวลา 5 วินาที เช่น เล่นกระดานบันไดงูสูตรคูณแม่ 2 ทอยได้ตัวคูณ เลข 4 ให้ท่องสูตรคูณ 2 x 4 = 8 เมื่อได้คำตอบ 8 ให้กรรมการในการการเล่นตรวจสอบคำตอบหากถูกต้องให้บอกจำนวนช่องที่ได้เดินแก่ผู้เล่น ให้ผู้เล่นขยับตัวเดินไปบนช่องตามจำนวนที่กรรมการบอก หากตอบผิดให้ขยับตัวเดินถอยหลังไปหนึ่งช่อง จากนั้นก็ให้ผู้เล่นคนถัดไปเล่น เล่นไปเรื่อยๆ จนครบทุกคน
5 . ระหว่างเดินบนช่องในบางช่องเมื่อพบบันไดงู ให้เลื่อนตัวเดินขึ้นตามระดับบันไดงู เมื่อพบหัวงูให้เลื่อนตัวเดินลงตามตัวงูจนถึงหางงู
6. เมื่อผู้เล่นคนใดคนหนึ่งเดินถึงช่องที่ 50 ให้เปลี่ยนการทอยลูกเต๋าเป็นระดับที่ 2 (ตัวคูณ 7-12)
7. ตัวเดินของผู้เล่นคนใดเดินทางถึงห้องช่อง 100 ก่อนจะเป็นผู้ชนะ
9. งบประมาณดำเนินงาน
500 บาท
10. ระยะเวลาดำเนินงาน
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559
11. ลักษณะเด่น/องค์ความรู้ที่ได้จากการพัฒนานวัตกรรม
ช่วยให้นักเรียนคูณเลขเร็วขึ้น จำสูตรคูณแต่ละคู่ได้อย่างแม่นยำ และจำแต่ละคู่อย่างเป็นอิสระต่อกัน สามารถเรียกใช้ได้ทันที เช่น ต้องการคำตอบของ 7 x 5 สามารถบอกคำตอบได้ทันทีว่า 35 ไม่ต้องไล่เรียงตามลำดับตั้งแต่คู่แรกจนถึงคู่ที่ต้องการ เช่น ต้องการหาคำตอบของ 7 x 5 ต้องไล่ตั้งแต่ 7x1=7
7x2=14
7x3=21
7x4=28
จนถึง 7x5 = 35 จึงจะได้ผลคูณเป็น 35
นักเรียนสามารถฝึกได้โดยใช้เกมบันไดงูช่วยคิดซึ่งทำหน้าที่สุ่มสูตรคูณทีละคู่ แบบไม่เรียงลำดับ เพื่อทดสอบความจำของนักเรียน ให้นักเรียนตอบทันทีที่เห็นโจทย์ อย่าใช้วิธีไล่สูตรคูณตามลำดับ
แม้ในระยะแรกนักเรียนจะตอบผิด ๆ ถูก ๆ แต่ขอให้ฝึกต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ ทุกวันจนชิน หลังจากนั้นนักเรียน ก็จะจำสูตรคูณได้อย่างเป็นอิสระ เหมือนจำคำศัพท์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันได้ทุกคำ
12. ผลที่เกิดขึ้น/ที่ปรากฏจากการใช้นวัตกรรม
1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้เกมบันไดงูช่วยคิดประกอบแผนการจัดการเรียนรู้ แบบโยนิโสมนสิการและแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องการคูณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าอยู่ในระดับมากทุกข้อ
2. นักเรียนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ให้สูงขึ้น
3. ทำให้นักเรียนเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน มีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์
4. ช่วยฝึกทักษะต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. ช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีและจดจำได้ยาวนาน
6. ช่วยดึงดูดความสนใจให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน
7. ช่วยให้นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ แก้ปัญหาได้ เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ใช้ความคิด
ของตนเองอย่างเต็มที่
7. มีประโยชน์ในการสอนซ่อมเสริม
8. ช่วยส่งเสริมการทำงานร่วมกันของนักเรียน ร่วมกันแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์
9. เปิดโอกาสให้ครูได้ศึกษาพฤติกรรมของนักเรียนอย่างแท้จริง
10. ช่วยให้นักเรียนใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
ภาคผนวก
ภาพกิจกรรมเกมบันไดงูช่วยคิด
ภาพกิจกรรมเกมบันไดงูช่วยคิด
ภาพกิจกรรมเกมบันไดงูช่วยคิด
ภาพกิจกรรมเกมบันไดงูช่วยคิด
ประวัติย่อของผู้จัดทำ
ชื่อ นางธีรารัตน์ โพธิราช
วันเกิด วันที่ 14 เดือน เมษายน พ.ศ. 2525
สถานที่เกิด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
สถานที่อยู่ปัจจุบัน บ้านเลขที่ 59 หมู่ 17 บ้านท่าแร่ ตำบลแก่งเลิงจาน
อำเภอเมือง จังหวัด มหาสารคาม
ตำแหน่งหน้าที่การงาน ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
สถานที่ทำงานปัจจุบัน โรงเรียนเทศบาลบ้านแมด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
ประวัติการศึกษา
พ.ศ. 2537 ประกาศนียบัตรหลักสูตรประถมศึกษา โรงเรียนอนุบาลมหาสารคาม
อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
พ.ศ. 2539 ประกาศนียบัตรหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนผดุงนารี
อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
พ.ศ. 2543 ประกาศนียบัตรหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนผดุงนารี
อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
พ.ศ. 2547 ครุศาสตรบัณฑิต สาขาการศึกษา วิชาเอกการประถมศึกษา
สถาบันราชภัฏมหาสารคาม อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
การรับราชการ
เริ่มรับราชการในตำแหน่ง ครูผู้ช่วย เมื่อวันที่ 23 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550 โรงเรียนวัดบางกระดี่ สำนักงานเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร
ปัจจุบันตำแหน่ง ครู วิทยฐานะชำนาญการ โรงเรียนเทศบาลบ้านแมด
สังกัดเทศบาลเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม