การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อพัฒนาชุดฝึกทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2. เพื่อพัฒนาชุดฝึกทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ชุดฝึกทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ 3. เพื่อเปรียบเทียบทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยชุดฝึกทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์
ประชากรและกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
โรงเรียนบ้านเกาะปุด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 25 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาตัวแปรอิสระ ได้แก่ชุดฝึกทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย ชุดฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย จำนวน 10 ชุดฝึก แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 22 แผนแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง เครื่องมือวัดความรู้ความสามารถของนักเรียนหลังเรียน ซึ่งผู้ศึกษาได้สร้างขึ้น เป็นข้อสอบแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าระดับความยากง่าย ตั้งแต่ 0.40-0.80 ค่าอำนาจจำแนก ตั้งแต่ 0.33-0.66 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน (σ) ค่าประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะและหาค่าความแตกต่างระหว่างผลการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้การทดสอบลำดับพิสัยวิลคอกซอล (Z - test) ผลการศึกษาพบว่า
1. ประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านเกาะปุด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตรัง เขต 1
มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.67/83.47 เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
2. การพัฒนาทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ทั้ง 10 ชุด พบว่า ผลการจัดกิจกรรมตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1- 22 ประจำชุดฝึกทักษะ ที่ 1-10 ค่าเฉลี่ยของการสอนก่อนเรียน มีค่าเท่ากับ 5.40 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 54.00 นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียนประจำชุดฝึกทักษะ มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 8.2 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 82.00 ของคะแนนเต็ม นักเรียนจำนวน 25 คน มีคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม คิดเป็นร้อยละ 100 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด แสดงว่า บรรลุผลการผ่านเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ นักเรียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด มีผลคะแนนการทดสอบผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม
3. การเปรียบเทียบทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (Z = 3.99, P =.00 )