ชื่อผลงาน : รายงานการใช้แบบฝึกเสริมทักษะเพื่อพัฒนาการอ่านการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านนายาง อำเภอนาหมื่น สำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 1
ผู้ศึกษา : นางณัฎฐิรา สุนทรเมือง
ปีที่ศึกษา : 2559
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะเพื่อพัฒนาการอ่าน การเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านนายาง อำเภอนาหมื่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 1 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึก เสริมทักษะเพื่อพัฒนา การอ่านการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านนายาง อำเภอนาหมื่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต1 และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะเพื่อพัฒนาการอ่านการเขียน
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านนายาง อำเภอนาหมื่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 11 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selecting) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ แบบทดสอบ แบบฝึกเสริมทักษะเพื่อพัฒนา การอ่านการเขียน จำนวน 4 ชุด แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 20 แผน และแบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติการทดสอบที (t- test)
ผลการศึกษาปรากฏผลดังนี้
1. ผลการวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะเพื่อพัฒนาการอ่านการเขียน กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า ประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะเพื่อพัฒนาการอ่าน การเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ได้กำหนดไว้ โดยมีค่าประสิทธิภาพ เท่ากับ 87.28/84.85 ซึ่งสอดคล้องกับสมมุติฐานข้อที่ 1
2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างก่อน และหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะเพื่อพัฒนาการอ่านการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า ภาพรวมมีคะแนนเฉลี่ยของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะเพื่อพัฒนาการอ่านการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สูงกว่าก่อนเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานข้อที่ 2
3. ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะเพื่อพัฒนา การอ่านการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาพรวม พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจในระดับ มากที่สุด (m=4.89,s=1.46) ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานข้อที่ 3