ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง หลักคำสอนของศาสนาและ
หน้าที่ชาวพุทธ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
ผู้วิจัย รสิกา สายมณี
ครูชำนาญการ โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช
สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
ปีที่ทำการศึกษา พ.ศ. 2559
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ สร้างและพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง หลักคำสอนของศาสนาและหน้าที่ชาวพุทธ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จำนวน 6 คน ใช้เวลาในการทดลอง 16 คาบ ดำเนินการทดลองแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังการทดลอง (One Group Pretest Posttest Design) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง หลักคำสอนของศาสนาและหน้าที่ชาวพุทธ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แผนการสอนเฉพาะบุคคล แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ E / E และการทดสอบค่าที (t test)
ผลการวิจัย พบว่า
1. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง หลักคำสอนของศาสนาและหน้าที่ชาวพุทธ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.54/84.17
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หลังเรียนโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง หลักคำสอนของศาสนาและหน้าที่ชาวพุทธ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง หลักคำสอนของศาสนาและหน้าที่ชาวพุทธ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.58, S = 0.39)