ชื่อเรื่อง การสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD
ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชา สังคมศึกษา เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย นางสุภัทธา จริตรัมย์
ปีที่รายงาน 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชา สังคมศึกษา เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อออกแบบและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชา สังคมศึกษา เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชา สังคมศึกษา เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชา สังคมศึกษา เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนหนองหว้าประชาสรรค์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 1 ห้องเรียน รวมทั้งสิ้น 30 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling ) เครื่องมือที่ใช้ คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ 2) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชา สังคมศึกษา เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.80 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการวิเคราะห์พื้นฐานรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชา สังคมศึกษา เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่พัฒนาขึ้น มีองค์ประกอบ 5 ขั้นตอน คือ (1) ขั้นการเตรียมการ (2) ขั้นเสนอบทเรียน (3) ขั้นศึกษากลุ่มย่อย (4) ขั้นพัฒนาทักษะ และ (5) ขั้นสรุปผลเรียนรวมการตัดสินผลงานของนักเรียน
2. ผลการออกแบบและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชา สังคมศึกษา เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 30 คน ได้ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 81.88/80.22 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
3. ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชา สังคมศึกษา เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่านักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ผลการประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชา สังคมศึกษา เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจ โดยรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.41 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.60 สรุปว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก