เรื่องที่วิจัย : การพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง เศรษฐศาสตร์เพื่อชีวิต
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านปาเต๊ะ
ผู้วิจัย : นางสาววันนา แกสมาน
สถานศึกษา : โรงเรียนบ้านปาเต๊ะ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล
ปีที่วิจัย : 2559
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องการพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง เศรษฐศาสตร์เพื่อชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านปาเต๊ะ
มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อหาประสิทธิภาพเอกสารประกอบการเรียนเรื่อง เศรษฐศาสตร์เพื่อชีวิต
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านปาเต๊ะ ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน
เรื่อง เศรษฐศาสตร์เพื่อชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านปาเต๊ะ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียนเรื่อง เศรษฐศาสตร์เพื่อชีวิต
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โรงเรียนบ้านปาเต๊ะ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านปาเต๊ะ ปีการศึกษา 2559 จำนวน
11 คน ระยะเวลาที่ทำการวิจัย ใช้เวลา 20 ชั่วโมง ซึ่งรวมการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
ทำการสอนในเวลาเรียนปกติ ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 สอนสัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา ตัวแปรต้นได้แก่ เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง เศรษฐศาสตร์เพื่อชีวิต
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านปาเต๊ะ 1 ตัวแปรตามได้แก่ 1)ประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง เศรษฐศาสตร์
เพื่อชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านปาเต๊ะ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง เศรษฐศาสตร์เพื่อชีวิต
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียน
บ้านปาเต๊ะ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง เศรษฐศาสตร์เพื่อชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โรงเรียนบ้านปาเต๊ะ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่า ร้อยละ (% ) ค่าเฉลี่ย
( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( )
ผลการวิจัยพบว่า 1)เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง เศรษฐศาสตร์เพื่อชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียน
บ้านปาเต๊ะ มีประสิทธิภาพ (E1/ E2) เท่ากับ 81.81/85.45 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ประสิทธิภาพที่กำหนดไว้ 80/80 2)ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เศรษฐศาสตร์เพื่อชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านปาเต๊ะ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
และมีค่าพัฒนาที่เฉลี่ยร้อยละ 15.91 โดยการเปรียบเทียบค่า t-test เท่ากับ 13.155
และมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 และ 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ที่เรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง เศรษฐศาสตร์เพื่อชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้
สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โรงเรียนบ้านปาเต๊ะ อยู่ในระดับมาก