การประเมินโครงการพัฒนาการจัดการศึกษาด้วย e-learning ของการศึกษาทางไกลผ่าน
ดาวเทียม (eDLIT) โรงเรียนบ้านหนองประดู่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 5
มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการพัฒนาการจัดการศึกษาด้วย e-learning ของการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (eDLIT) โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ในด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการดำเนินงาน และด้านผลผลิตของโครงการ โดยใช้ประชากร
และกลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย ครูโรงเรียนบ้านหนองประดู่ จำนวน 4 คน นักเรียนโรงเรียน
บ้านหนองประดู่ ที่กำลังศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน
40 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 40 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน รวมทั้งหมด 91 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ จำนวน 3 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อโครงการ (ก่อนดำเนินโครงการ) มี 2 ด้าน ได้แก่ ด้านสภาพแวดล้อม มีค่าความเชื่อมั่น .86
ด้านปัจจัยเบื้องต้น มีค่าความเชื่อมั่น .88 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .93 ฉบับที่ 2 แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อโครงการ (ระหว่างดำเนินโครงการ) ด้านกระบวนการดำเนินงาน ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .92 ฉบับที่ 3 แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อโครงการ (หลังดำเนินโครงการ) ด้านผลผลิต ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .93 และแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 3 ระดับ จำนวน 1 ฉบับ คือ ฉบับที่ 4 แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อโครงการ (หลังดำเนินโครงการ)
ด้านผลผลิต สำหรับแบบสอบถามฉบับที่ 1 2 สอบถามครูโรงเรียนบ้านหนองประดู่ แบบสอบถามฉบับที่ 3 สอบถามครู กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียนชั้นประถม
ศึกษาปีที่ 4 6 และแบบสอบถามฉบับที่ 4 สอบถามนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 3 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้หาความตรงของเครื่องมือ (Validity) ใช้สูตร IOC หาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถาม
โดยการหาค่าความเชื่อมั่นโดยหา  - Coefficient ของครอนบาช (Cronbach)
ผลการประเมินโครงการ
ผลการประเมินโครงการพัฒนาการจัดการศึกษาด้วย e-learning ของการศึกษาทางไกลผ่าน
ดาวเทียม (eDLIT) โรงเรียนบ้านหนองประดู่ โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ทั้ง 4 ด้าน สรุปผลได้ดังนี้
1. การดำเนินงานตามโครงการพัฒนาการจัดการศึกษาด้วย e-learning ของการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (eDLIT) โรงเรียนบ้านหนองประดู่ ซึ่งประกอบด้วย 2 กลยุทธ์ มีกิจกรรม
การดำเนินงาน 5 กิจกรรม บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ ได้แก่ ครูสามารถจัดการเรียนการสอนโดยใช้ DLTV มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แก้ไขปัญหาครูผู้สอนไม่ครบชั้นเรียนได้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและผลการทดสอบระดับชาติ (O-NET , NT) ของนักเรียนสูงขึ้น ผู้ปกครองและชุมชนมีเจตคติที่ดีต่อโรงเรียนและมีความศรัทธา เชื่อมั่น
ที่จะส่งบุตรหลานเข้ามาเรียน
2. การประเมินโครงการโดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) สรุปผล
ได้ดังนี้
2.1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม เรื่องความคิดเห็นที่มีต่อโครงการพัฒนา
การจัดการศึกษาด้วย e-learning ของการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (eDLIT) โรงเรียนบ้าน-
หนองประดู่ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น จำนวน 91 คน จำแนกตามสถานภาพได้แก่
ครู จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 4.39 นักเรียนจำนวน 40 คน คิดเป็นร้อยละ 43.96 ผู้ปกครอง จำนวน 40 คน คิดเป็นร้อยละ 43.96 และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน
คิดเป็นร้อยละ 7.69 ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 53.85 และเป็นเพศชาย ร้อยละ 46.15
ส่วนใหญ่มีการศึกษาระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่า คิดเป็นร้อยละ 56.04 รองลงมาคือ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น คิดเป็นร้อยละ 21.98 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรืออนุปริญญา คิดเป็นร้อยละ 17.58 และระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่า คิดเป็นร้อยละ 4.40 ตามลำดับ
2.2 ผลการประเมินโครงการพัฒนาการจัดการศึกษาด้วย e-learning ของการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (eDLIT) โรงเรียนบ้านหนองประดู่ โดยภาพรวม เฉลี่ยทุกด้านมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.23) เมื่อพิจารณาผลการประเมินรายด้าน พบว่า ทุกด้านมี
ความสอดคล้องและเหมาะสมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงตามลำดับ ได้ดังนี้ ด้านผลผลิต (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.25) ด้านปัจจัยเบื้องต้น (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.20) ด้านกระบวนการ (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.20)
และด้านสภาพแวดล้อม (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.18 )
2.2.1 ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อม โดยภาพรวมมีความคิดเห็นเกี่ยวกับ
ความสอดคล้องของวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการกับความต้องการของสภาพแวดล้อม
อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้ออยู่ในระดับมากที่สุด 3 ข้อ อยู่ในระดับมาก 6 ข้อ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์โครงการ ในการแก้ปัญหาครูไม่ครบชั้น (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.75 ) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยเป็นลำดับรองลงมามี 2 ข้อ ได้แก่ โครงการมีความเหมาะสมกับสภาพปัจจุบันปัญหาของโรงเรียนและความต้องการของชุมชน และความเหมาะสมของวัตถุประสงค์โครงการในการพัฒนาคุณภาพสื่อและเทคโนโลยี (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.50) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์โครงการในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ
ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.50) แต่ก็ยังอยู่ในระดับมาก
2.2.2 ผลการประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น โดยภาพรวมมีความคิดเห็นเกี่ยวกับ
ความเหมาะสมของบุคลากร งบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการดำเนินการตามโครงการ
อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.20) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 3 ข้อ มีความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก 7 ข้อ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโครงการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาด้วย e-learning ของการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (eDLTV) (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.75) เป็นโครงการที่มีเทคนิคและวิธีการที่เหมาะสม (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.75) และ ความพร้อมของอุปกรณ์และเครื่องมือที่รองรับการจัดการศึกษาด้วย
e-learning ของการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (eDLTV) (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.50) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ บุคลากรที่ร่วมดำเนินการโครงการมีความเหมาะสมและเพียงพอ (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.50)
2.2.3 ผลการประเมินด้านกระบวนการ โดยภาพรวมมีความคิดเห็นเกี่ยวกับ
ความเหมาะสมของกระบวนการดำเนินงานตามโครงการที่ปฏิบัติจริงอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.20) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 4 ข้อ อยู่ในระดับมาก 11 ข้อ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด มี 2 ข้อ ได้แก่ ก่อนการดำเนินงานมีการประชุมชี้แจงบุคลากรที่มีส่วนร่วม
ทุก ๆ ฝ่ายให้เข้าใจวัตถุประสงค์และแนวทางการดำเนินงาน และจัดกิจกรรมโครงการแต่ละกิจกรรมตามขั้นตอนที่กำหนด(ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.75 เท่ากัน) ค่าเฉลี่ยรองลงมามีจำนวน 2 ข้อ ได้แก่
มีการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ และมีการประเมินโครงการระหว่างดำเนินงานและสิ้นสุดโครงการ (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.50 เท่ากัน) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก คือ มีการบันทึกผลการดำเนินกิจกรรมแต่ละอย่างอย่างต่อเนื่องเป็นปัจจุบัน
(ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.50)
2.2.4 ผลการประเมินด้านผลผลิต โดยภาพรวม (จากแบบสอบถามฉบับที่ 3 ประเมินโดยครู คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 6 และจากแบบสอบถามฉบับที่ 4 ประเมินโดยนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 3) ความคิดเห็นโดยภาพรวม
มีความสอดคล้องอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.25) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้ออยู่ในระดับมากที่สุด
1 ข้อ และอยู่ในระดับมากจำนวน 9 ข้อ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ การจัดการเรียนรู้โดยใช้ eDLTV
ช่วยแก้ปัญหาครูไม่ครบชั้นได้ (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.51) รองลงมา ได้แก่ ผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความพึงพอใจต่อความสำเร็จของโครงการ (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.41) อันดับที่สาม ได้แก่ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.38) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ นักเรียนมีผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (O-NET , NT) ดีขึ้น (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.00) แต่ก็ยังอยู่ในระดับมาก
ผลการประเมินด้านผลผลิต จากครู คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 6 โดยภาพรวมมีความสอดคล้องอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.35) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้ออยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ การจัดการเรียนรู้โดยใช้ eDLTV ช่วยแก้ปัญหาครูไม่ครบชั้นได้ (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.67) รองลงมา ได้แก่ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทาง
การเรียนดีขึ้น (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.54 ) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงเป็นอันดับที่สาม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความพึงพอใจต่อความสำเร็จของโครงการ ( ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.48 ) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ครูมีแผนการจัดการเรียนรู้และสามารถจัดการเรียนรู้โดยใช้ eDLTV ได้เป็นอย่างดี (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.08 )
ผลการประเมินด้านผลผลิต จากครู คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 3 โดยภาพรวมมีความสอดคล้องอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.38 ) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้ออยู่ในระดับมากจำนวน 7 ข้อ และระดับปลานกลางจำนวน
3 ข้อ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดมี 2 ข้อ ได้แก่ ครูจัดการเรียนรู้โดยใช้ eDLTV ได้ดี(ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.61) และครูผู้สอนจัดการเรียนดียิ่งขึ้น (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.61) รองลงมา ได้แก่ นักเรียนมีความพึงพอใจ
ต่อการเรียนโดยใช้ eDLTV (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.52) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ นักเรียนมีผลการทดสอบ
ทางการศึกษาระดับชาติ (O-NET , NT) ดีขึ้น (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.00 )
2.3 ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหา/อุปสรรค แนวทางการพัฒนา และข้อเสนอแนะ
ผู้ประเมินได้สรุปเป็นรายด้านดังนี้
ด้านสภาพแวดล้อม สรุปได้ดังนี้ เป้าหมายของโครงการควรใช้เป็นเป้าหมายดำเนินการในปีต่อไป ควรกำหนดให้ชัดเจน เป็นนโยบายของโรงเรียน และควรทำต่อเนื่องทุกปีไป
ด้านปัจจัยเบื้องต้น สรุปได้ดังนี้ งบประมาณและวัสดุอุปกรณ์มีจำกัด ยังไม่เพียงพอ ถ้าได้รับการสนับสนุนที่เพียงพอจะทำให้โครงการมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ควรจัดหาบุคลากรมาเพิ่ม ห้องเรียนควรจัดหาสื่อมาเสริม
ด้านกระบวนการ ควรดำเนินการเป็นระยะ มีการประเมินโครงการและนิเทศติดตาม
อย่างต่อเนื่อง ควรมีการกำกับติดตามการจัดการศึกษาด้วย eDLTV และควรเพิ่มกิจกรรมที่ส่งเสริม
การจัดการศึกษาด้วย eDLTV ให้มีความหลากหลายและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ด้านผลผลิต เพื่อให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนพัฒนามากยิ่งขึ้น ครูควรสอนเพิ่มเติมหรือซ่อมเสริมในเนื้อหาวิชาต่างๆ เพื่อให้นักเรียนมีความเข้าใจเพิ่มขึ้น