ชื่อเรื่อง รายงานผลการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ ชุด อาหารหลัก 5 หมู่
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดนาพร้าว อำเภอศรีราชา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3
ผู้ศึกษา นางสาวปิยะรัตน์ โสภา ตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการ
โรงเรียนวัดนาพร้าว
ปีที่พิมพ์ 2559
บทคัดย่อ
กระบวนการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ประสบความสำเร็จ
ได้นั้น ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สื่อ นวัตกรรม ที่จะส่งผลต่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ดังนั้นในการศึกษาครั้งนี้จึงมีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา
ผลการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาที่มีประสิทธิภาพ 80/80 หาค่าดัชนีประสิทธิผล เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดนาพร้าว อำเภอศรีราชา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 35 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษามี 3 ชนิด ได้แก่ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา จำนวน 6 เรื่อง ใช้ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งสิ้น 6 แผนการจัดการเรียนรู้ รวม 12 ชั่วโมง แบบทดสอบ 1 ฉบับ เป็นแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุด อาหารหลัก 5 หมู่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จำนวนรวม 40 ข้อ มีค่าความยากง่ายรายข้อตั้งแต่ 0.39 - 0.55 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อมีค่าตั้งแต่ 0.50 - 0.95 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.98 และแบบวัดความพึงพอใจต่อการเรียน เป็นชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ ( ) ตั้งแต่ 0.50 - 0.88 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานใช้ t - test (Dependent Samples)
ผลการศึกษาปรากฏดังนี้
1. กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุด อาหารหลัก 5 หมู่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ 89.57/ 89.57 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุด อาหารหลัก 5 หมู่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีค่าเท่ากับ 0.8696 แสดงให้เห็นว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาส่งผลให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 86.96
3. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาพบว่าค่าคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p>.05)
4. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้เรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ชุด อาหารหลัก 5 หมู่ โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษามีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด
โดยสรุป ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สามารถนำกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา ชุด อาหารหลัก 5 หมู่ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มาปรับใช้กับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตลอดจนเป็นแนวทางในการพัฒนาการเรียนรู้และยกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนได้