การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้ชุดกิจกรรมการ์ตูนฝึกสร้างโครงงานวิทยาศาสตร์ เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนากระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการ์ตูนฝึกสร้างโครงงานวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
สร้างและพัฒนาชุดกิจกรรมการ์ตูนฝึกสร้างโครงงานวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้ชุดกิจกรรมการ์ตูนฝึกสร้างโครงงานวิทยาศาสตร์
เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ ชุดกิจกรรมการ์ตูนฝึกสร้างโครงงานวิทยาศาสตร์ และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม โดยใช้ชุดกิจกรรมการ์ตูนฝึกสร้างโครงงานวิทยาศาสตร์ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนชุมชนบ้านดอนหัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่นเขต 3 จำนวน 18 คน ซึ่งผู้วิจัยเป็นครูผู้สอนได้ ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้ เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย
แผนการจัดการเรียนรู้เนื้อหา เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม จำนวน 20 แผนการจัดการเรียนรู้ ชุดกิจกรรมการ์ตูนฝึกสร้างโครงงานวิทยาศาสตร์ จำนวน 5 ชุด แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ จำนวน 30 ข้อ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ
แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน จำนวน 20 ข้อ เครื่องมือที่ใช้สะท้อนผลการวิจัย ประกอบด้วย
แบบบันทึกหลังสอน แบบบันทึกพฤติกรรมของนักเรียนขณะปฏิบัติการสอน แบบบันทึกการสังเกตการสอนของครูผู้วิจัย แบบสัมภาษณ์นักเรียน บันทึกประจำวันของผู้วิจัย และแบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์จากการทำโครงงานดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้ค่าเฉลี่ย และร้อยละ และในการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนจากแบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้สถิติ t-test (Dependent) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการพรรณนาวิเคราะห์ข้อมูล (Descriptive Analysis) ที่ได้จากการบันทึกหลังการจัดการเรียนรู้และการสัมภาษณ์โดยได้ข้อมูลจากการสังเกต ผู้วิจัยเก็บข้อมูลด้วยตนเองกับครูผู้ร่วมวิจัย ในการจัดกิจกรรมและเก็บรวบรวมข้อมูลโดยดำเนินการประเมินผลตามสภาพจริง โดยวัดผลเป็นระยะ ๆ หลังเรียนจบแต่ละวงจรปฏิบัติการด้วยการลงมือปฏิบัติจริงท้ายทุกวงจรปฏิบัติการโดยใช้ชุดกิจกรรมการ์ตูนฝึกสร้างโครงงานวิทยาศาสตร์ แล้วนำคะแนนจากแบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์จากการทำโครงงาน และแบบฝึกหัดท้ายชุดกิจกรรม คะแนนจากแบบทดสอบท้ายชุดกิจกรรม หาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ เมื่อเรียนจบครบวงจรปฏิบัติการ ให้นักเรียนทำแบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน นำคะแนนที่ได้หาค่าเฉลี่ย ร้อยละ แล้วเทียบกับเกณฑ์การผ่านร้อยละ 80 ขึ้นไป
ผลการวิจัยสรุปได้ว่า
1. การพัฒนากระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการ์ตูนฝึกสร้างโครงงานวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที 3 เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนนักเรียนมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
2. การพัฒนาและหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมการ์ตูนฝึกสร้างโครงงานวิทยาศาสตร์กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 86.48/85.45 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80
3. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้ชุดกิจกรรมการ์ตูนฝึกสร้างโครงงานวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้ชุดกิจกรรมการ์ตูนฝึกสร้างโครงงานวิทยาศาสตร์
หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
5. นักเรียนมีความพึงพอใจ ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม โดยใช้ชุดกิจกรรมการ์ตูนฝึกสร้างโครงงานวิทยาศาสตร์อยู่ ในระดับพึงพอใจมากที่สุด