บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
ชื่อผลงาน : รายงานการประเมินโครงการโรงเรียนคุณธรรมน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
โรงเรียนบ้านทางยาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล
ผู้ประเมิน : นางอนิตตา ปีมะสาร
ตำแหน่ง : ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านทางยาง
ปีการศึกษา : 2559
รายงานการประเมินโครงการโรงเรียนคุณธรรมน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านทางยาง ปีการศึกษา 2559 มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อประเมินสภาวะแวดล้อมของโครงการโรงเรียนคุณธรรมน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านทางยาง ปีการศึกษา 2559 2) เพื่อประเมินปัจจัยของโครงการโรงเรียนคุณธรรมน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านทางยาง ปีการศึกษา 2559 3) เพื่อประเมินกระบวนการของโครงการโรงเรียนคุณธรรมน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านทางยาง ปีการศึกษา 2559 4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการโรงเรียนคุณธรรมน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านทางยาง ปีการศึกษา 2559 เกี่ยวกับ 4.1) คุณภาพของการดำเนินงานโรงเรียนคุณธรรมน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 4.2) ความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินงานโรงเรียนคุณธรรมน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
กลุ่มตัวอย่าง มีจำนวน 117 คน ประกอบด้วย 1) ครู ศึกษาจากประชากรครูทั้งหมดของโรงเรียนบ้านทางยาง ปีการศึกษา 2559 จำนวน 9 คน 2) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) โดยยกเว้นผู้บริหารและผู้แทนครู ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 7 คน 3) นักเรียน กำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) โดยใช้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-6 โรงเรียนบ้านทางยาง ปีการศึกษา 2559 ทุกคน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 38 คน เนื่องจากนักเรียนชั้นดังกล่าวมีความสามารถในการอ่านและการเขียน สามารถสื่อความจากข้อคำถามของแบบประเมินได้ดี 4) ผู้ปกครอง ศึกษาจากผู้ปกครองของนักเรียน ปีการศึกษา 2559 จำนวน 63 คน ยกเว้นผู้ปกครองที่เป็นคณะกรรมการสถานศึกษา
เครื่องมือที่ใช้มี 5 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 แบบประเมินด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.77 ฉบับที่ 2 แบบประเมินด้านปัจจัยของโครงการ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.75 ฉบับที่ 3 แบบประเมินด้านกระบวนการของโครงการ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.84 ฉบับที่ 4 แบบประเมินคุณภาพการดำเนินงานโครงการ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 และฉบับที่ 5 แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินโครงการ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94
ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินโครงการโรงเรียนคุณธรรมน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนบ้านทางยาง ปีการศึกษา 2559 ด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการ โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.26
2. ผลการประเมินโครงการโรงเรียนคุณธรรมน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนบ้านทางยาง ปีการศึกษา 2559 ด้านปัจจัยของโครงการ โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.31
3. ผลการประเมินโครงการโรงเรียนคุณธรรมน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนบ้านทางยาง ปีการศึกษา 2559 ด้านกระบวนการของโครงการ โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.34
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ เกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณธรรมน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนบ้านทางยาง ปีการศึกษา 2559 เมื่อพิจารณาประเด็นการประเมิน
4.1 การประเมินคุณภาพของการดำเนินโครงการ ผลการประเมินพบว่า โดยภาพรวมมี
ความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.40
4.2 การประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณธรรมน้อมนำ
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนบ้านทางยาง ปีการศึกษา 2559 โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.42
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะสำหรับนำผลการประเมินไปใช้ มีดังนี้คือ
1. ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
ควรนำผลการประเมินไปใช้ในการส่งเสริมพัฒนากิจกรรมและแหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียงให้เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน
2. ครูผู้สอน ควรนำผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนรู้บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และส่งเสริมให้นักเรียนพัฒนาทักษะการคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างต่อเนื่อง
3. ผู้บริหารการศึกษา และศึกษานิเทศก์ควรนำผลการประเมินไปใช้ในการบริหารจัดการศึกษาและนิเทศการจัดการศึกษา ให้สามารถขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนต่างๆ อย่างกว้างขวาง
ข้อเสนอแนะสำหรับหัวข้อการประเมินต่อไป คือ
1. ควรประเมินโครงการพัฒนาทักษะการคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ
2. ควรประเมินโครงการพัฒนาสื่อและแหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ
3. ควรประเมินโครงการพัฒนาหลักสูตรและสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา