ผู้ศึกษา นางรอฮีย๊ะ หะยีกาเล็ง
สถานศึกษา โรงเรียนบ้านมือลอ(มะ อาแดอุทิศ)
ปีที่ศึกษา ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านมือลอ(มะ อาแดอุทิศ) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 10 ชุด 2) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 12 แผน ใช้เวลาในการจัดการเรียนรู้ 28 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพื่อประเมินความรู้ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน เป็นแบบทดสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ สถิตพื้นฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ หาค่าประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (E1/E2) ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่พัฒนาขึ้นมีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 79.12/77.84 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่กำหนดไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรม การเรียนรู้วิทยาศาสตร์เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.38 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต โดยใช้กระบวนการ สืบเสาะหาความรู้ (5Es) โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ระดับความพึงพอใจเฉลี่ยเท่ากับ 4.62 (x̄ = 4.62)