ชื่อเรื่อง การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพครูในการจัดทำ
หน่วยการเรียนรู้ที่สอดแทรกภูมิปัญญาท้องถิ่น
ผู้วิจัย นายถวิล รัตนพร
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
ปีการศึกษา 2556
บทคัดย่อ
การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพครูในการจัดทำหน่วยการเรียนรู้ที่สอดแทรกภูมิปัญญาท้องถิ่น มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพครูในการจัดทำหน่วยการเรียนรู้ที่สอดแทรกภูมิปัญญาท้องถิ่น 2) เพื่อหาประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพครูในการจัดทำหน่วยการเรียนรู้ที่สอดแทรกภูมิปัญญาท้องถิ่น ตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อศึกษาผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพครูในการจัดทำหน่วยการเรียนรู้ที่สอดแทรกภูมิปัญญาท้องถิ่น และ 4) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรฝึกอบรมที่มีต่อกิจกรรมการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพครูในการจัดทำหน่วยการเรียนรู้ที่สอดแทรกภูมิปัญญาท้องถิ่น
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูโรงเรียนบ้านป่าตะแบง อำเภอโนนแดง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 14 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามเพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับความต้องการและความคิดเห็นในการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพครูในการจัดทำหน่วยการเรียนรู้ที่สอดแทรกภูมิปัญญาท้องถิ่น 2) หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพครูในการจัดทำหน่วยการเรียนรู้ที่สอดแทรกภูมิปัญญาท้องถิ่น 3) แบบประเมินหลักสูตรฝึกอบรม 4) แบบทดสอบวัดความรู้ความคิดเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นและการจัดทำหน่วยการเรียนรู้ก่อนการฝึกอบรม และ 5) แบบสอบถามความคิดเห็นของครูผู้เข้ารับการอบรมต่อหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพครูในการจัดทำหน่วยการเรียนรู้ที่สอดแทรกภูมิปัญญาท้องถิ่น สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพครูในการจัดทำหน่วยการเรียนรู้ที่สอดแทรกภูมิปัญญาท้องถิ่น ประกอบด้วย 7 แผนการฝึกอบรม ได้แก่ 1) ค้นหาภูมิปัญญาท้องถิ่น 2) ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการจัดการเรียนรู้ 3) ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ 4) การออกแบบหน่วยการเรียนรู้ที่สอดแทรกภูมิปัญญาท้องถิ่น 5) การสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้หน่วยการเรียนรู้
6) ฝึกปฏิบัติการจัดทำหน่วยการเรียนรู้ที่สอดแทรกภูมิปัญญาท้องถิ่น 7) การประเมินผลหน่วยการเรียนรู้ ผลการประเมินความสอดคล้องของหลักสูตรฝึกอบรมโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า โดยภาพรวมค่าเฉลี่ยยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.76, S.D.=0.12) และ หลักสูตรมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.70, S.D.=0.06)
2. หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพครูในการจัดทำหน่วยการเรียนรู้ที่สอดแทรกภูมิปัญญาท้องถิ่น มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.01/82.62 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
3. ผลสัมฤทธิ์ด้านความรู้ความเข้าใจในการจัดทำหน่วยการเรียนรู้ที่สอดแทรกภูมิปัญญาท้องถิ่นหลังอบรมเพิ่มขึ้นกว่าก่อนอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการประเมินความคิดเห็นของผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความคิดเห็นต่อหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพครูในการจัดทำหน่วยการเรียนรู้ที่สอดแทรกภูมิปัญญาท้องถิ่นอยู่ในระดับ ดีมากที่สุด ( = 4.63 , S.D = 0.21)
โดยสรุปการฝึกอบรม โดยใช้หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพครูในการจัดทำหน่วยการเรียนรู้ที่สอดแทรกภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีความเหมาะสมมากที่สุด มีประสิทธิภาพสูง สามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ด้านความรู้ความเข้าใจในการจัดทำหน่วยการเรียนรู้ที่สอดแทรกภูมิปัญญาท้องถิ่นให้สูงขึ้น ผู้เข้าอบรมมีความคิดเห็นต่อหลักสูตรฝึกอบรมในระดับดีมากที่สุด จึงมีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้ในการพัฒนาศักยภาพครูได้อย่างมีประสิทธิภาพ