ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
โรงเรียนแม่ออนวิทยาลัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 34
ผู้รายงาน นายดิเรก อุ่นวงษ์
รองผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะรองผู้อำนวยการชำนาญการ
โรงเรียนแม่ออนวิทยาลัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 34
ปีที่ศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การศึกษาการประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนแม่ออน วิทยาลัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 34 โดยใช้ CIPP Model ของ Daniel L. Stufflebeam (1971 อ้างถึงใน เยาวดี รางชัยกุล วิบูลย์ศรี, 2546) มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมิน ความสอดคล้องด้านบริบท (Context Evaluation) เพื่อประเมินความพร้อมด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) เพื่อประเมินการดำเนินงานด้านกระบวนการ (Process Evaluation) และ เพื่อประเมินผลผลิต (Product Evaluation) กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน ครูปฏิบัติการสอน นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาและชุมชนโรงเรียนแม่ออนวิทยาลัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 34 ปีงบประมาณ 2560 จำนวน 65 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน 1 คน รองผู้อำนวยการโรงเรียน 1 คน ครูปฏิบัติการสอน 6 คน นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาศึกษาปีที่ 1, 2, 3, 4, 5 และ 6 ปีการศึกษา 2559 ห้องละ 5 คน รวมเป็น 30 คน คณะกรรมการสถานศึกษา 9 คน และชุมชนโดยการเลือกแบบเจาะจง 18 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการประเมิน คือ แบบบันทึกภาคสนาม (Field Note Study) แบบสังเกต แบบสอบถาม เพื่อการประเมิน 4 ด้าน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสอบถามและการสังเกต วิเคราะห์ข้อมูล เชิงปริมาณด้วยค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความถี่ ร้อยละ และวิเคราะห์เนื้อหา เชิงคุณภาพในลักษณะการบรรยายสรุป ผลการประเมินและข้อเสนอแนะสรุปได้ ดังนี้
ผลการประเมิน
การศึกษาการประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียน แม่ออนวิทยาลัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 34 ผลการประเมิน พบว่า
1. การประเมินโครงการด้านบริบท (Context Evaluation)
1.1 ข้อมูลเชิงคุณภาพ พบว่า 1) มีการศึกษาความต้องการจำเป็นก่อนการดำเนินโครงการ 2) โครงการมีความสอดคล้องกับความต้องการของ ผู้บริหาร ครูปฏิบัติการสอน นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาและชุมชน 3) การวางแผนการดำเนินงานเน้นการมีส่วนร่วม ระหว่างโรงเรียนกับคณะกรรมการสถานศึกษาและชุมชน 4) การกำหนด วิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์ และเป้าหมาย ของสถานศึกษา ส่งผลต่อความสำเร็จ ในการดำเนินโครงการ 5) เป้าหมายในแผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา มีส่วนส่งเสริมสนับสนุนให้มีการดำเนินโครงการ 6) นโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีส่วนส่งเสริมสนับสนุนให้มีการดำเนินโครงการในโรงเรียน 7) ผู้บริหารให้ความสำคัญ และให้การส่งเสริมสนับสนุน การดำเนินโครงการ 8) บุคลากรทุกคนในโรงเรียน ทราบ และ เข้าใจถึงวัตถุประสงค์ การดำเนินโครงการ 9) สภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนที่เหมาะสม ส่งผลต่อความสำเร็จของ การดำเนินโครงการ 10) ชุมชน องค์กรท้องถิ่น เห็นความสำคัญ และให้การส่งเสริมสนับสนุนโรงเรียนในการดำเนินโครงการ
1.2 ข้อมูลเชิงปริมาณ พบว่า จากรายการประเมิน จำนวน 10 ข้อ ในภาพรวม มีความเหมาะสม มากที่สุด ( = 4.54 และ S.D. = 0.61) โดยที่ “มีการศึกษาความต้องการจำเป็นก่อนการดำเนินโครงการ” มีค่า สูงสุด เท่ากับ 4.72 และ “นโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีส่วนส่งเสริมสนับสนุนให้มีการดำเนินโครงการในโรงเรียน” ต่ำสุด เท่ากับ 4.38
2. การประเมินโครงการด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation)
2.1 ข้อมูลเชิงคุณภาพ พบว่า 1) การบริหารจัดการในการดำเนินโครงการสอดคล้อง
กับความต้องการของสถานศึกษา 2) บุคลากรทุกคนในโรงเรียนมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ
3) บุคลากรที่เข้าร่วมกิจกรรมของโครงการได้รับการพัฒนาเพื่อความเข้าใจกระบวนการของ การดำเนินโครงการ 4) บุคลากรทุกคนในโรงเรียนดำเนินโครงการตามวิธีการและขั้นตอนที่กำหนดอย่างเป็นระบบและถูกต้อง 5) บุคลากรที่ร่วมดำเนินโครงการมีจำนวนเพียงพอกับกิจกรรม ของโครงการ 6) มีการจัดสรรเวลาในการดำเนินงานตามกิจกรรมของโครงการ 7) มีการวางแผนบริหารเวลาที่ได้รับจัดสรรอย่างเหมาะสม 8) มีการจัดงบประมาณในการดำเนินงานเพื่อการใช้ดำเนินกิจกรรมอย่างเพียงพอ 9) โรงเรียนได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการ จากชุมชนและองค์กรอื่น 10) มีการวางแผนบริหารงบปราณที่ได้รับจัดสรรอย่างเหมาะสม
2.2 ข้อมูลเชิงปริมาณ พบว่า จากรายการประเมิน จำนวน 10 ข้อ ในภาพรวม มีความเหมาะสม มากที่สุด ( = 4.47 และ S.D. = 0.58) โดย “บุคลากรทุกคนในโรงเรียน มีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ” มีค่า สูงสุด เท่ากับ 4.63 และ “โรงเรียนได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการจากชุมชนและองค์กรอื่น” ต่ำสุด เท่ากับ 4.32
3. การประเมินโครงการด้านกระบวนการ (Process Evaluation)
3.1 ข้อมูลเชิงคุณภาพ พบว่า 1) สถานศึกษาจัดกิจกรรมวิเคราะห์ตนเอง (Situation Analysis) ก่อนการวางแผนการดำเนินโครงการ 2) คณะกรรมการสถานศึกษาและชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามกิจกรรมของโครงการ 3) มีการประชุมวางแผนการดำเนินโครงการ โดยการมีส่วนร่วมระหว่างผู้บริหาร ครูปฏิบัติการสอน คณะกรรมการสถานศึกษา ชุมชน และบุคลากรอื่น ที่เกี่ยวข้อง 4) บุคลากรในสถานศึกษาทุกคนมีส่วนร่วมในกระบวนการของการดำเนินโครงการ 5) สถานศึกษามีการแจ้งปฏิทินกิจกรรมของโครงการแก่ครูและบุคลากรทุกคน 6) ความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการของกิจกรรมของโครงการของผู้บริหารสถานศึกษาส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินโครงการ 7) สถานศึกษานำผลการประเมินการดำเนินกิจกรรมของโครงการมาปรับปรุงให้เหมาะสมกับบริบทของตนอย่างต่อเนื่องเพื่อความยั่งยืน 8) การสร้างเครือข่าย และ การร่วมกิจกรรมของโครงการ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างเสริมประสบการณ์ระหว่างบุคลากร 9) สถานศึกษาเปิดโอกาสให้คณะกรรมการสถานศึกษาและชุมชน มีส่วนร่วมในการกำกับติดตามการดำเนินโครงการ 10) เมื่อสิ้นปีการศึกษา สถานศึกษาจัดทำเอกสารสรุปผลการดำเนินงานการพัฒนาโครงการ
3.1 ข้อมูลเชิงปริมาณ พบว่า จากรายการประเมิน จำนวน 10 ข้อ ในภาพรวม มีความเหมาะสม มากที่สุด ( X-= 4.43 และ S.D. = 0.53) โดย “สถานศึกษานำผลการประเมิน การดำเนินกิจกรรมของโครงการมาปรับปรุงให้เหมาะสมกับบริบทของตนอย่างต่อเนื่องเพื่อ ความยั่งยืน มีค่า สูงสุด เท่ากับ 4.71 และ “ความรู้ความเข้าใจในกระบวนการของกิจกรรม ของโครงการของผู้บริหารสถานศึกษาส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินโครงการ” มีค่า ต่ำสุด เท่ากับ 4.27
4. การประเมินโครงการด้านผลผลิต (Product Evaluation)
4.1 ข้อมูลเชิงคุณภาพ พบว่า 1) ผลการดำเนินโครงการส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของจำนวนนักเรียนในแต่ละปีการศึกษา 2) โรงเรียนได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น 3) โรงเรียนได้รับการยอมรับจากสถานศึกษาอื่นและเป็นต้นแบบในการศึกษาดูงาน 4) โรงเรียนได้รับรางวัลเนื่องจากผลที่เกิดจากการดำเนินโครงการ 5) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานำแนวทางการดำเนินงานของโรงเรียนไปขยายผลให้กับโรงเรียนอื่น ๆ มากขึ้น 6) ครูได้รับ การยอมรับและได้รับเชิญเป็นวิทยากรในการขยายผลให้กับโรงเรียนหรือหน่วยงานอื่น7) ครูและนักเรียนเกิดความรักและศรัทธาองค์กรมากขึ้น 8) สถานศึกษามีเอกลักษณ์และผลงานที่เป็นเลิศ (Best Practice) ที่เกิดจากการดำเนินโครงการ 9) ครูได้รับรางวัลดีเด่นในระดับต่าง ๆ มากขึ้น 10) ผู้บริหาร ครูปฏิบัติการสอน นักเรียนคณะกรรมการสถานศึกษาและชุมชน มีความพึงพอใจ ต่อการดำเนินโครงการ
4.2 ข้อมูลเชิงปริมาณ พบว่า จากรายการประเมิน จำนวน 10 ข้อ ในภาพรวม มีความเหมาะสมมากที่สุด ( X-= 4.35 และ S.D. = 0.51) โดย “ผู้บริหาร ครูปฏิบัติการสอน นักเรียนคณะกรรมการสถานศึกษาและชุมชน มีความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการ” มีค่า สูงสุด เท่ากับ 4.40 และ “สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานำแนวทางการดำเนินงานของโรงเรียนไปขยายผลให้กับโรงเรียนอื่น ๆ มากขึ้น” มีค่า ต่ำสุด เท่ากับ 4.20
นอกจากนี้จากการดำเนินงานตามกิจกรรมของโครงการดังกล่าว ยังได้ส่งผลกระทบต่อ ผู้บริหารโรงเรียน ครูปฏิบัติการสอน นักเรียน โรงเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาและชุมชน ดังนี้
ผลที่เกิดกับผู้บริหาร
ผู้บริหารมีภาวะผู้นำ เน้นความสำคัญในการบริหารงานบริหารทั่วไป สนใจการจัดกิจกรรม
ของโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และให้ความสำคัญกับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ครูปฏิบัติการสอน
ส่งผลให้ครูปรับพฤติกรรมในการสอน จากที่เคยบอก อธิบาย มาเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง
การเรียนรู้ของนักเรียน มีการจัดการเรียนการสอนตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียน มีการทำงานเป็นทีม ร่วมวางแผน ร่วมสังเกตกิจกรรม ร่วมสะท้อนผล ร่วมปรับกิจกรรม วัฒนธรรมองค์การเปลี่ยนไปสู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ และสามารถพัฒนาวิชาชีพของตนเองตามแนวทางการดำเนินกิจกรรมของโครงการ
ผลที่เกิดกับนักเรียน
นักเรียนมีโอกาสในการแสดงแนวคิดในการร่มกิจกรรม ส่งผลให้ผู้เรียน กล้าคิด
กล้าแสดงออกอย่างมีเหตุผล สามารถอธิบายถึงเหตุผลของสิ่งที่เกิดขึ้นในกระบวนการทำงาน ในการร่วมกิจกรรม สามารถอธิบายสิ่งที่ตนเองคิดให้ผู้อื่นฟังและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ที่คิดต่างจากตน มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีความเป็นผู้นำ มีทักษะชีวิตที่ดี และผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนโดยรวมของนักเรียนสูงขึ้น
ผลที่เกิดกับโรงเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาและชุมชน
โรงเรียนมีผลงานที่เป็นเลิศ (Best practice) ได้รับการยอมรับจากสถานศึกษาอื่นและ
เป็นต้นแบบในการศึกษาดูงาน วัฒนธรรมองค์การเปลี่ยนไปสู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ชุมชนมีความพึงพอใจในผลผลิตที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจกรรมของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และเข้ามามีส่วนร่วมในการสนับสนุนโรงเรียนมากขึ้น