การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้หนังสือการ์ตูน เสริมทักษะการอ่านและการเขียน
เรื่อง มาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนบ้านคำแมด อำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการจัดทำ คือ ๑) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้หนังสือการ์ตูนเสริมทักษะการอ่านและการเขียน เรื่อง มาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐
๒) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ที่ได้รับการสอนโดยใช้หนังสือการ์ตูน เสริมทักษะการอ่านและการเขียน เรื่อง มาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน ๓) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้หนังสือการ์ตูน เสริมทักษะการอ่านและการเขียน เรื่องมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ๔) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมเรียนรู้โดยใช้หนังสือการ์ตูน เสริมทักษะการอ่านและการเขียน เรื่อง มาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียน
บ้านคำแมด อำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น
เขต ๔ จำนวน ๑๑ คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ประกอบด้วยหนังสือการ์ตูน เสริมทักษะการอ่านและการเขียน เรื่อง มาตราตัวสะกด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อน-หลังเรียน แบบทดสอบย่อย และแบบประเมินความพึงพอใจ รูปแบบในการศึกษาครั้งนี้ ใช้การทดลองแบบกลุ่มเดียว (One group Pre test Post test Design) นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ค่าสถิติโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าร้อยละ (%) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t - test
ผลการศึกษาค้นคว้า พบว่า
๑. ประสิทธิภาพหนังสือการ์ตูน เสริมทักษะการอ่านและการเขียน เรื่อง มาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ เป็นสื่อที่มีประสิทธิภาพเท่ากับ
๘๘.๑๘/๘๘.๔๘ ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ ๘๐/๘๐ ที่ตั้งไว้
๒. นักเรียนที่เรียนโดยใช้หนังสือการ์ตูน เสริมทักษะการอ่านและเขียน
เรื่อง มาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนเท่ากับ คิดเป็นร้อยละ ๑๒.๐๐ คิดเป็นร้อยละ ๔๐.๐๐ คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ ๒๖.๕๕ คิดเป็นร้อยละ ๘๘.๑๘ โดยที่คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕
๓. การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้หนังสือการ์ตูน เสริมทักษะการอ่านและ
การเขียน เรื่อง มาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ ๐.๘๐๘ แสดงว่านักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ ๘๐.๘๐
๔. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้หนังสือการ์ตูน เสริมทักษะการอ่านและการเขียน เรื่อง มาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้หนังสือการ์ตูน เสริมทักษะการอ่านและเขียน โดยรวม
มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด