ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดบ้านตลาดเหนือ (วันครู2502)
ชื่อผู้ประเมิน นางสาวพัชนี ขรรค์วิไลกุล
ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ตในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินโครงการโครงการสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โรงเรียน องค์การบริหารส่วนจังหวัดบ้านตลาดเหนือ (วันครู2502) โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPPIEST Model 2) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานตามโครงการสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดบ้านตลาดเหนือ (วันครู2502) ตลอดจนข้อเสนอแนะ ต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
การประเมินครั้งนี้แบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การศึกษาข้อมูลเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการประเมิน คือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ประกอบด้วย ผู้บริหาร ครู ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน จำนวน 379 คน โดยแบ่งเป็น ผู้บริหาร 4 คน ครูผู้รับผิดชอบโครงการ 49 คน ผู้ปกครองนักเรียน ชั้น ป.4 ม.6 จำนวน 163 คน นักเรียนชั้น ป.4 ม.6 จำนวน 163 คน 2) การศึกษาข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสนทนากลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ประกอบด้วย ผู้บริหาร 2 คน ครูผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 4 คน นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 2 คน และผู้ปกครองนักเรียน 2 คน รวมผู้ให้ข้อมูล จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม และแบบคำถามในการสนทนากลุ่ม มาตราส่วนประมาณค่า การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติวิเคราะห์คำนวณหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ด้วยโปรแกรมสถิติสำเร็จรูป ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินโครงการสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ตทั้ง 8 ด้าน ประกอบด้วย ด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต ด้านผลกระทบ ด้านประสิทธิผล ด้านความยั่งยืน และด้านการถ่ายโยงความรู้ โดยภาพรวมในการประเมินทั้ง 8 ด้าน อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย=4.40) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 2 ด้าน คือ ด้านบริบท (ค่าเฉลี่ย=4.54) และด้านผลกระทบ (ค่าเฉลี่ย=4.61) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านผลกระทบ (ค่าเฉลี่ย=4.61) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านผลผลิต (ค่าเฉลี่ย=4.16)
2. ส่วนปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ ในการดำเนินงานโครงการพบว่า
ปัญหาและอุปสรรคในการทำโครงการ คือ การประสานงานกับโครงการอนุรักษ์พันธ์พืชฯ หนังสือที่จะจัดอบรมจากโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ กับโรงเรียนสมาชิกสวนพฤกษศาสตร์จะมาถึงโรงเรียนในระยะเวลากระชั้นชิด การขออนุญาตไปราชการ ต้องติดตามเรื่องอย่างเร่งด่วน ส่วนการบูรณาการบางกลุ่มสาระการเรียนรู้ยังไม่ให้ความสำคัญเท่าที่ควร ด้านสถานที่จัดทำสวนพฤกษศาสตร์มีความเหมาะสม แต่บางช่วงประสบปัญหาไม่มีน้ำรดต้นไม้ หรือมีแต่ไม่เพียงพอ การประชาสัมพันธ์งานที่เกี่ยวข้องกับสวนพฤกษศาสตร์ภายในโรงเรียนยังมีน้อย ครูบางส่วนไม่เข้าใจขั้นตอนการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์ โรงเรียนจึงจัดอบรมให้ความรู้แก่ครูและบุคลากรในโรงเรียนทุกคน นอกจากนี้โรงเรียนจัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นให้ใช้ได้อย่างเพียงพอ
ข้อเสนอแนะ
1. ในการจัดกิจกรรมและให้เชิญคณะกรรมการสถานศึกษาและตัวแทนผู้ปกครองทุกสายชั้นมาร่วมด้วย
2. การประเมินโครงการ แม้ว่าโรงเรียนจะได้รับป้ายพระราชทานฯ แล้ว ควรรักษาคงไว้เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ทรงคุณค่า และควรดำเนินการต่อเนื่องและขอรับการประเมินในระดับต่อไป เพื่อเป็นเกียรติแก่หน่วยงาน