บทคัดย่อ
ชื่อผลงาน : รายงานการประเมินโครงการการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
การจัดการเรียนรู้ของครู สู่คุณภาพผู้เรียน
ผู้รายงาน : ว่าที่ ร.ต.จิรพงศ์ นารนุกุล
รองผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลปากพะยูน
ปีที่รายงาน : ปีการศึกษา 2559
บทสรุป
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียนโดยใช้กลยุทธ์ภาคีเครือข่าย โรงเรียนอนุบาลปากพะยูน ปีการศึกษา 2559 มีวัตถุประสงค์เพื่อ ประเมินด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และผลผลิตของโครงการ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วยประชากรครูจำนวน 30 คน กลุ่มตัวอย่างนักเรียนจำนวน 207 คน กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองจำนวน 207 คน และกลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินมี 2 ลักษณะคือ แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 6 ฉบับ และแบบบันทึกผลการประเมินมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน จำนวน 1 ฉบับ รวมทั้งสิ้น 7 ฉบับ มีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือทุกฉบับได้ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง .815 -.952
ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อมการดำเนินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียนโดยใช้กลยุทธ์ภาคีเครือข่าย โรงเรียนอนุบาลปากพะยูน ปีการศึกษา 2559 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและครู จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์การประเมินโดยรวม ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ยผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. ผลการประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียนโดยใช้กลยุทธ์ภาคีเครือข่าย โรงเรียนอนุบาลปากพะยูน ปีการศึกษา 2559 ตามความคิดเห็นของครู จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์การประเมิน โดยรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดและได้คะแนนเฉลี่ยผ่านเกณฑ์การประเมิน
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียนโดยใช้กลยุทธ์ภาคีเครือข่าย โรงเรียนอนุบาลปากพะยูน ปีการศึกษา 2559 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครูและผู้ปกครอง จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์การประเมิน โดยภาพรวมทั้งสามกลุ่มที่ประเมินและทุกประเด็นตัวชี้วัด มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ยผ่านเกณฑ์การประเมิน
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต จำแนกเป็น
4.1 ผลการประเมินคุณภาพการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียน โดยใช้กลยุทธ์ภาคีเครือข่าย โรงเรียนอนุบาลปากพะยูน ปีการศึกษา 2559 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครูและผู้ปกครอง จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์การประเมิน โดยภาพรวมทั้งสามกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ยผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.2 ผลการประเมินการส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนและชุมชน / ท้องถิ่นของครูเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียนโดยใช้กลยุทธ์ภาคีเครือข่าย โรงเรียนอนุบาลปากพะยูน ปีการศึกษา 2559 ตามความคิดเห็นของนักเรียนและผู้ปกครอง จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์การประเมิน โดยรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ยผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.3 ผลการประเมินคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา มาตรฐานคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนอนุบาลปากพะยูน ปีการศึกษา 2559 มีผลการประเมินอยู่ในระดับดีเยี่ยม ได้ค่าร้อยละสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ยผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.4 ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อการดำเนินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียน โดยใช้กลยุทธ์ภาคีเครือข่าย โรงเรียนอนุบาลปากพะยูน ปีการศึกษา 2559 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครองและกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์การประเมิน โดยรวมทั้งสี่กลุ่มมีความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ยผ่านเกณฑ์
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1. โรงเรียนควรชี้แจงทำความเข้าใจให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย รวมทั้งประชาสัมพันธ์การดำเนินงานของโครงการอย่างต่อเนื่อง
2. โรงเรียนควรนำผลการประเมินโครงการมาวิเคราะห์หาจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนาเพื่อกำหนดแนวทางในการพัฒนาโครงการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นต่อไป
3. ควรนำผลการประเมินโครงการเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา ได้แก่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหรือหน่วยงานอื่นๆได้รับทราบและเผยแพร่ผลการดำเนินงานของโครงการให้ผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบเพื่อให้การสนับสนุน
ข้อเสนอแนะสำหรับการประเมินในครั้งต่อไป
1. ควรมีการประเมินโครงการทุกโครงการที่โรงเรียนได้ดำเนินการ แต่ทั้งนี้โรงเรียนจะพิจารณาเลือกใช้รูปแบบการประเมินใดควรขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายว่าต้องการทราบข้อมูลหรือสารสนเทศใด จะได้เลือกใช้รูปแบบการประเมินที่เหมาะสม
2. การประเมินโครงการระดับงานหรือระดับฝ่ายย่อยๆควรใช้รูปแบบการประเมินโดยยึดวัตถุประสงค์เป็นหลักในการประเมิน