ชื่องานวิจัย การพัฒนาแบบฝึกทักษะพัฒนาการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านท่าช้าง
ผู้วิจัย นางจารุวรรณ ทองบุรี
หน่วยงาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 1
ปีที่ทำวิจัย 2558
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ เป็นการพัฒนาแบบฝึกทักษะพัฒนาการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านท่าช้าง โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้าง แบบฝึกทักษะพัฒนาการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ก่อนเรียน และหลังเรียน โดยใช้แบบฝึกทักษะพัฒนาการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะพัฒนาการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านท่าช้าง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 1 จำนวน 11 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบฝึกทักษะพัฒนาการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 6 เล่ม แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน
20 แผน แบบทดสอบหลังเรียนจากแบบฝึกทักษะพัฒนาการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 6 เล่ม เล่มละ 10 ข้อ รวม 60 คะแนน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 1 ฉบับ ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ข้อละ 1 คะแนน คะแนนเต็ม 30 คะแนน และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่6 ที่มีต่อแบบฝึกทักษะพัฒนาการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน12 ข้อ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( )ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( )และค่าความก้าวหน้า
ผลการวิจัย พบว่า
1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะพัฒนาการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามเกณฑ์ 80/80 มีค่า 83.11/80.22 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ เป็นไปตามสมมติฐาน
ที่ตั้งไว้
2. ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
เรื่อง ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ก่อน และหลังเรียน พบว่านักเรียน จำนวน 11 คน จากการนำคะแนนความแตกต่างระหว่างคะแนน
ก่อนเรียนและหลังเรียน มาเปรียบเทียบ โดยใช้ค่าความก้าวหน้าเป็นค่าร้อยละ พบว่า หลังเรียน
มีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 11.91 คิดเป็นร้อยละ 39.70 ซึ่งสูงกว่าก่อนเรียน เป็นตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
3. ความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการเรียน ด้วยแบบฝึกทักษะพัฒนาการคิดวิเคราะห์
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยรวม พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจ อยู่
ในระดับมากที่สุด (= 4.50) ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้