บทคัดย่อ
การพัฒนาชุดฝึกปฏิบัติการทดลองวิทยาศาสตร์ เรื่อง เสียงกับการได้ยิน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนโนนดู่โพนหวายประชาสรรค์ครั้งนี้ มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อสร้างและพัฒนาชุดฝึกปฏิบัติการทดลองวิทยาศาสตร์ เรื่อง เสียงกับการได้ยิน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนโนนดู่โพนหวายประชาสรรค์ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนวัตกรรมที่เรียนด้วยชุดฝึกปฏิบัติการทดลองวิทยาศาสตร์ เรื่อง เสียงกับการได้ยิน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนโนนดู่โพนหวายประชาสรรค์ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดฝึกปฏิบัติการทดลองวิทยาศาสตร์ เรื่อง เสียงกับการได้ยิน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนโนนดู่โพนหวายประชาสรรค์
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนในกลุ่ม
เครือข่ายสระใคร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 ที่กำลังศึกษาอยู่ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 311 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวนนักเรียน 9 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ 4 ชนิด 1) แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 2) ชุดฝึกปฏิบัติการทดลองวิทยาศาสตร์ เรื่อง เสียงกับการได้ยิน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนโนนดู่โพนหวายประชาสรรค์ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ จำนวน 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ซึ่งมีค่าความยากง่าย (p) ตั้งแต่ 0.50 – 0.67 มีค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.20 ถึง 0.47 และค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ 0.74 4) แบบประเมินความพึงพอใจ ที่มีต่อชุดฝึกปฏิบัติการทดลอง จำนวน 25 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานประสิทธิภาพของกระบวนการ/ประสิทธิภาพของผลลัพธ์ ( / ) ค่าดัชนีความสอดคล้อง ( IOC ) ค่าความยาก ค่าอำนาจจำแนก ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ และการทดสอบสมมติฐานใช้ t-test (Dependent Samples) ผลการศึกษาค้นคว้า ปรากฏ ดังนี้
1. ชุดฝึกปฏิบัติการทดลองที่ผู้รายงานสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 92.68/87.04
ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง เสียงกับการได้ยิน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
3. การประเมินระดับความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนด้วยชุดฝึกปฏิบัติการทดลองวิทยาศาสตร์ เรื่อง เสียงกับการได้ยิน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจต่อชุดชุดฝึกปฏิบัติการทดลองวิทยาศาสตร์ เรื่อง เสียงกับการได้ยิน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด