ชื่อเรื่อง : การประเมินโครงการยกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
โรงเรียนบ้านหลวง อำเภอบ้านหลวง จังหวัดน่าน
ผู้ประเมิน : นายพิศิษฐ์ อุดอ้าย
ปีที่ประเมิน : 2559
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการยกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนบ้านหลวง อำเภอ
บ้านหลวง จังหวัดน่าน มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้าด้านกระบวนการและด้านผลผลิต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการประกอบด้วย คณะกรรมการบริหารวิชาการ จำนวน 15 คน ครูและบุคลากรในโรงเรียน จำนวน 40 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองจำนวน 15 คน นักเรียน จำนวน 170 คน ผู้ปกครองจำนวน 170 คน รวมทั้งสิ้น 255 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบศึกษาเอกสาร แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ โดยผู้ประเมินสร้างขึ้นและเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการประเมิน
1. ด้านบริบท พบว่า ผลการประเมินตามตัวชี้วัด ความต้องการจำเป็นในการจัดทำโครงการ ความสอดคล้องกับเป้าหมาย จุดเน้น วิสัยทัศน์ของโรงเรียนและความพร้อมของโรงเรียนและชุมชนในภาพรวม อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์ที่ตั้งไว้
2. ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า ความเหมาะสม เพียงพอของปัจจัยนำเข้าในการดำเนินงานโครงการยกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านหลวง อำเภอบ้านหลวง จังหวัดน่านตามตัวชี้วัด ความเหมาะสมเพียงพอของบุคลากร ความเพียงพอของงบประมาณ ความเพียงพอเหมาะสมของเครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ สื่อและเทคโนโลยี และความเหมาะสมของสถานที่ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์ที่ตั้งไว้
3. ด้านกระบวนการ พบว่า ความเหมาะสมของกระบวนการดำเนินงาน ตามตัวชี้วัด การวางแผนดำเนินงาน การดำเนินงานตามแผน การนิเทศ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์ที่ตั้งไว้ส่วนการแก้ไขปรับปรุงการดำเนินงาน
มีข้อเสนอแนะในการดำเนินงานคือ โรงเรียนควรเชิญวิทยากรภายนอกมาให้ความรู้ที่หลากหลายขึ้น และควรจัดโครงการยกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านหลวง อำเภอบ้านหลวง จังหวัดน่าน อย่างต่อเนื่อง
4. ด้านผลผลิต พบว่า ทุกตัวชี้วัดในภาพรวม อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์ที่ตั้งไว้ เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่า ตัวชี้วัดจำนวนนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการตามกิจกรรม เป็นไปตามเป้าหมาย ผ่านเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐานของนักเรียนผ่านเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ตัวชี้วัดพฤติกรรมการเรียนและการร่วมกิจกรรมของนักเรียน ตามความคิดเห็นของนักเรียน พบว่าอยู่ในระดับมาก ส่วนตัวชี้วัดความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง พบว่าคณะกรรมการบริหารวิชาการ ครูและบุคลากรในโรงเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง นักเรียนและผู้ปกครองมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก