บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะใฝ่รู้ใฝ่เรียนของนักเรียน
โรงเรียนบ้านสันติสุข สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3
ชื่อผู้ประเมิน นายอนุพงค์ คำน้อย
ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา
สถานศึกษา โรงเรียนบ้านสันติสุข
ปีการศึกษา 2559
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะใฝ่รู้ใฝ่เรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านสันติสุข สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 ในรูปแบบจำลอง CIPP Model ในด้านสภาวะแวดล้อม (Context) ปัจจัยพื้นฐาน(Input) กระบวนการ (Process) และผลผลิต (Product) และเพื่อศึกษาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะใฝ่รู้ใฝ่เรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านสันติสุข สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนั้น เป็นกลุ่มตัวอย่างจากโรงเรียนบ้านสันติสุข สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 ในปีการศึกษา 2559 อันได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน ครูผู้สอน จำนวน 20 คน ผู้ปกครอง จำนวน 126 คน และนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 126 คน รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 285 คน และผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
การประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะใฝ่รู้ใฝ่เรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านสันติสุข สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 ในรูปแบบจำลอง CIPP Model ในด้านสภาวะแวดล้อม (Context) ปัจจัยพื้นฐาน(Input) กระบวนการ (Process) และผลผลิต (Product) ผลการประเมิน มีดังนี้
กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
ด้านสภาวะแวดล้อม (Context) โดยภาพรวมพบว่า อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีระดับการประเมินการดำเนินงานตามโครงการมากที่สุด ได้แก่ โครงการมีความจำเป็นต่อการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เพื่อสนองนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานส่วนข้อที่มีระดับการประเมินมน้อยที่สุด 2 อันดับ ได้แก่ โครงการมีความสอดคล้องและเหมาะสมกับกระบวนการจัดการเรียนรู้ของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ และโครงการมีความสอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา
ด้านกระบวนการ (Process) โดยภาพรวมพบว่า อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีระดับการประเมินโครงการมากที่สุด ได้แก่ คือ มีการใช้แหล่งเรียนรู้จากโครงการในการส่งเสริมคุณลักษณะใฝ่รู้ใฝ่เรียนของผู้เรียน ส่วนข้อที่มีระดับการประเมินโครงการน้อยที่สุด 2 อันดับ ได้แก่ รับผิดชอบและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ และการนิเทศ กำกับติดตาม ตรวจสอบ และรายงานผลการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ
ด้านผลผลิต (Product) โดยภาพรวมพบว่า อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีระดับการประเมินโครงการมากที่สุด ได้แก่ โครงการนี้ได้แก้ปัญหาความไม่เพียงพอ และความหลากหลายของแหล่งเรียนในสถานศึกษา ส่วนข้อที่มีระดับการประเมินโครงการน้อยที่สุด 2 อันดับ ได้แก่ โครงการนี้ได้เพิ่มประสิทธิผลต่อผู้เรียนในด้าน พุทธิพิสัย และโครงการนี้ทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น
ครูผู้สอน
ด้านสภาวะแวดล้อม (Context) โดยภาพรวมพบว่า อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีระดับการประเมินโครงการมากที่สุด ได้แก่ โครงการมีความสอดคล้องและเหมาะสมกับการสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ส่วนข้อที่มีระดับการประเมินโครงการน้อยที่สุด 2 อันดับ ได้แก่ โครงการมีความสอดคล้องและเหมาะสมกับกระบวนการจัดการเรียนรู้ของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ และโครงการมีความจำเป็นต่อการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เพื่อสนองนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ด้านปัจจัยพื้นฐาน (Input) โดยภาพรวมพบว่า อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีระดับการประเมินโครงการมากที่สุด ได้แก่ ความพร้อม เพียงพอ และเหมาะสมด้านบุคลากรผู้รับผิดชอบและผู้ดำเนินกิจกรรมที่มีทักษะความรู้ ความสามารถ ส่วนข้อที่มีระดับการประเมินโครงการน้อยที่สุด 2 อันดับ ได้แก่ ความพร้อม เพียงพอ และเหมาะสมด้านวัสดุอุปกรณ์ สื่อเทคโนโลยี ที่มีคุณภาพต่อการดำเนินโครงการ และความพร้อมและเหมาะสมในการวางแผน การกำหนดกิจกรรมและลำดับขั้นตอนการดำเนินโครงการ
ด้านกระบวนการ (Process) โดยภาพรวมพบว่า อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีระดับการประเมินโครงการมากที่สุด ได้แก่ มีการใช้แหล่งเรียนรู้จากโครงการในการส่งเสริมคุณลักษณะใฝ่รู้ใฝ่เรียนของผู้เรียน ส่วนข้อที่มีระดับการประเมินโครงการน้อยที่สุด 2 อันดับ ได้แก่ ผู้รับผิดชอบและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความตระหนัก ให้ความสำคัญและร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ และมีการนิเทศ กำกับติดตาม ตรวจสอบ และรายงานผลการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ
ด้านผลผลิต (Product) โดยภาพรวมพบว่า อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีระดับการประเมินโครงการมากที่สุด ได้แก่ โครงการนี้ได้แก้ปัญหาความไม่เพียงพอ
และความหลากหลายของแหล่งเรียนในสถานศึกษา ส่วนข้อที่มีระดับการประเมินโครงการน้อยที่สุด 2 อันดับ ได้แก่ โครงการนี้ได้เพิ่มประสิทธิผลต่อผู้เรียนในด้าน พุทธิพิสัย และโครงการนี้ทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น
ผู้ปกครอง
ด้านผลผลิต (Product) โดยภาพรวมพบว่า อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าข้อที่มีระดับการประเมินโครงการมากที่สุด ได้แก่ โครงการนี้ทำให้สถานศึกษามีแหล่งเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและการสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ส่วนข้อที่มีระดับการประเมินโครงการน้อยที่สุด 2 อันดับ ได้แก่ โครงการนี้ได้เพิ่มประสิทธิผลต่อผู้เรียนในด้าน พุทธิพิสัย และโครงการนี้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการจัดการเรียนรู้ของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้
นักเรียน
ด้านผลผลิต (Product) โดยภาพรวมพบว่า อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีระดับการประเมินโครงการมากที่สุด ได้แก่ โครงการนี้ได้แก้ปัญหาความไม่เพียงพอ และความหลากหลายของแหล่งเรียนในสถานศึกษา ส่วนข้อที่มีระดับการประเมินโครงการน้อยที่สุด 2 อันดับ ได้แก่ โครงการนี้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการจัดการเรียนรู้ของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ และโครงการนี้ทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น
แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะใฝ่รู้ใฝ่เรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านสันติสุข สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 จากการวิเคราะห์และสังเคราะห์จากแบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึก พบว่า
มีผลดังนี้
ด้านสภาวะแวดล้อม (Context) ควรมีการกำหนดยุทธศาสตร์ นโยบายของสถานศึกษาเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ มีการวางแผนงาน แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบที่ชัดเจน ปฏิบัติจริง สร้างการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง การปรับโครงสร้างการบริหารโครงการโดยจัดบทบาทภารกิจที่อยู่บนพื้นฐานหลักการทางวิชาการที่สามารถปฏิบัติได้จริง พร้อมทั้งจัดให้มีระบบควบคุมตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพและโปร่งใส สร้างความตระหนักให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายให้เห็นความสำคัญและประโยชน์ของการจัดการศึกษาตามโครงการ มีส่วนร่วมในการวางแผนการดำเนินการตามโครงการ
ด้านปัจจัยพื้นฐาน (Input) ควรมีการวิเคราะห์สภาพปัญหา อุปสรรค โอกาส ปัจจัยภายใน ปัจจัยภายนอก นำมาวางแผนกลยุทธ์ จัดทำโครงการ จัดสรรงบประมาณ มีการระดมทรัพยากรจากทุกภาคส่วนให้มีส่วนรวมเข้าพัฒนาโครงการ จัดหาและส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในการบริหารโครงการ จัดหาวัสดุอุปกรณ์ สื่อการสอน เครื่องมือ เครื่องใช้ต่าง ๆ สำหรับการจัดการศึกษาและดำเนินกิจกรรมตามโครงการให้เพียงพอและมีประสิทธิภาพ มีการดูแล ซ่อมแซม บำรุงรักษาวัสดุอุปกรณ์ให้มีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงความประหยัด คุ้มค่า จัดทำโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา ครูผู้สอนจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับโครงการ จัดหาเอกสารคู่มือครู และให้มีการปรับกิจกรรม แบบฝึกเสริมทักษะ ใบงาน เนื้อหาสาระบูรณาการให้เหมาะสมกับการใช้แหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษาตามโครงการ
ด้านกระบวนการ (Process) แต่งตั้งผู้รับผิดชอบโครงการที่มีทักษะความรู้ คอยประสานงานให้ความรู้ ให้คำปรึกษาแก่ครูผู้สอนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การอำนวยความสะดวกในการดำเนินกิจกรรม เช่น การซ่อมบำรุงวัสดุอุปกรณ์ การประชาสัมพันธ์โครงการ การใช้สื่อเทคโนโลยี ที่ทันสมัยมาใช้ในการบริหารและการจัดการเรียนรู้ สร้างเครือข่ายทางการศึกษา ประสานงานกับโรงเรียนในกลุ่มเครือข่าย เขตพื้นที่การศึกษา หรือโรงเรียนที่ประสบผลสำเร็จในการดำเนินโครงการ มีการพบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน การประชุมอบรมสัมมนา การศึกษาดูงาน เข้าค่าย ร่วมกิจกรรมทางการศึกษา จัดระบบการให้บริการการใช้แหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา มีการเปิดบริการแหล่งเรียนรู้นอกเวลาอย่างหลากหลาย ส่งเสริมให้ผู้เรียนมาใช้แหล่งเรียนรู้ได้ทุกเวลา จัดให้มีกิจกรรมการแข่งขันหรือแสดงผลงานที่เกิดจากการเรียนรู้ผ่านแหล่งเรียนรู้ตามโครงการ
ด้านผลผลิต (Product) ส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษาบูรณาการเข้ากับกลุ่มสาระต่างๆ มีระบบนิเทศ กำกับ ติดตาม และตรวจสอบการดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่อง รายงานผลเป็นระยะ มีการวิเคราะห์ปัญหา อุปสรรค ปรับปรุง และแก้ไขปัญหาระหว่างการดำเนินโครงการ มีการประเมินผล นำผลไปพัฒนาปรับปรุงการดำเนินการในครั้งต่อไป มีการประชาสัมพันธ์ให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทราบ และหาแนวทางการพัฒนาโครงการและจัดกิจกรรมการใช้แหล่งเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการผลผลิตด้านความรู้ของนักเรียน